ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประชุมองค์กรเครือข่ายเมืองใหญ่ของเอเชีย 21 ในหัวข้อ "พระอัจฉริยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ซึ่งได้มีการยกโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขปัญหาน้ำ เช่น โครงการแก้มลิง การทำเขื่อน การทำฝายชะลอน้ำต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งว่า การบริหารจัดการน้ำจะต้องทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ โดยให้ดูเรื่องต้นไม้ จะต้องดูแลไม่ให้ถูกทำลาย เพราะ 15-20 เปอร์เซ็นต์ ที่ฝนตกลงมาน้ำจะต้องอยู่ในป่า เพราะป่าจะทำหน้าที่ดูดซับน้ำ นอกจากนั้น จะต้องมีการทำแก้มลิง เพื่อที่จะนำน้ำที่เป็นส่วนเกินนำมาเก็บไว้เพื่อใช้ในเวลาหน้าแล้ง รวมถึงการทำฝายชะลอน้ำ เพื่อให้น้ำไหลช้าลง และสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ และให้ป่าฟื้นกลับคืนมาได้
ส่วนการบริหารจัดการน้ำช่วงกลางน้ำ จะต้องบริหารจัดการน้ำในผืนป่าเศรษฐกิจ เช่น สวนผลไม้ สวนผักต่างๆ เพราะพื้นที่ป่าเศรษฐกิจจะทำหน้าที่เหมือนป่าเช่นเดียวกัน และคงต้องมีการบริหารจัดการน้ำ ต้องมีการคำนวณการใช้น้ำอย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นและต้องทำ แต่ต้องดูถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่า และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ส่วนปลายน้ำ ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร พบว่ามีขยะและน้ำเสียจำนวนมาก ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการให้เป็นระบบ โดยพึ่งพาธรรมชาติ และใช้สติปัญญาของคนในการบริหารจัดการ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ระหว่างคนและธรรมชาติ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็ควรสร้างให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วย
ส่วนการบริหารจัดการน้ำช่วงกลางน้ำ จะต้องบริหารจัดการน้ำในผืนป่าเศรษฐกิจ เช่น สวนผลไม้ สวนผักต่างๆ เพราะพื้นที่ป่าเศรษฐกิจจะทำหน้าที่เหมือนป่าเช่นเดียวกัน และคงต้องมีการบริหารจัดการน้ำ ต้องมีการคำนวณการใช้น้ำอย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นและต้องทำ แต่ต้องดูถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่า และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ส่วนปลายน้ำ ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร พบว่ามีขยะและน้ำเสียจำนวนมาก ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการให้เป็นระบบ โดยพึ่งพาธรรมชาติ และใช้สติปัญญาของคนในการบริหารจัดการ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ระหว่างคนและธรรมชาติ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็ควรสร้างให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วย