นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามแผนที่ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ หรือ กยน.กำหนดไว้ ซึ่งมีการเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนปีนี้ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมามีการวางแผนบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เจ้าพระยา ในส่วนของต้นน้ำ ได้วางแผนพร่องน้ำในเขื่อนหลัก เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ให้เหลือน้ำต้นทุนในปริมาณเหมาะสมที่จะใช้น้ำในทุกกิจกรรม
ส่วนพื้นที่กลางน้ำ มีการหารือระดับจังหวัดและท้องถิ่น กำหนดพื้นที่รับน้ำ หรือแก้มลิง เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ฝนที่ตกท้ายเขื่อนไหลไปกักเก็บไว้ในพื้นที่ดังกล่าวช่วงฤดูฝน
สำหรับพื้นที่ปลายน้ำ กำหนดแนวทางการระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด โดยทำการขุดลอกคูคลองต่างๆ กำจัดวัชพืช กำหนดแนวพื้นที่ฟลัดเวย์ พร้อมสร้างคันกั้นน้ำเป็นชั้นๆ โดยชั้นในสุดก่อนเข้ากรุงเทพฯ ได้มีการปรับปรุงแนวทางการก่อสร้างคันกั้นน้ำตามพระราชดำริ ฝั่งตะวันออกใหม่ โดยก่อสร้างคันกั้นน้ำสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดของปี 2544 ประมาณ 50 เซนติเมตร
ขณะที่สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณรวมกันทั้งสิ้น 38,451 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 53 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ สามารถรองรับน้ำในฤดูฝนได้อีกกว่า 31,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ส่วนพื้นที่กลางน้ำ มีการหารือระดับจังหวัดและท้องถิ่น กำหนดพื้นที่รับน้ำ หรือแก้มลิง เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ฝนที่ตกท้ายเขื่อนไหลไปกักเก็บไว้ในพื้นที่ดังกล่าวช่วงฤดูฝน
สำหรับพื้นที่ปลายน้ำ กำหนดแนวทางการระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด โดยทำการขุดลอกคูคลองต่างๆ กำจัดวัชพืช กำหนดแนวพื้นที่ฟลัดเวย์ พร้อมสร้างคันกั้นน้ำเป็นชั้นๆ โดยชั้นในสุดก่อนเข้ากรุงเทพฯ ได้มีการปรับปรุงแนวทางการก่อสร้างคันกั้นน้ำตามพระราชดำริ ฝั่งตะวันออกใหม่ โดยก่อสร้างคันกั้นน้ำสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดของปี 2544 ประมาณ 50 เซนติเมตร
ขณะที่สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณรวมกันทั้งสิ้น 38,451 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 53 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณความจุในระดับกักเก็บ สามารถรองรับน้ำในฤดูฝนได้อีกกว่า 31,000 ล้านลูกบาศก์เมตร