นักวิเคราะห์ชี้การที่ยูโรโซนตัดสินใจปล่อยเงินกู้มหาศาลเพื่ออุ้มแบงก์สเปน เป็นเพียงการซื้อเวลาสำหรับมาดริดและยูโรโซนเท่านั้น เพราะถึงอย่างไรระเบิดเวลาที่กำลังนับถอยหลังของยุโรปย่อมต้องเป็นการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของกรีซในสุดสัปดาห์นี้ รวมถึงการที่แดนกระทิงดุถึงกำหนดชำระหนี้ก้อนใหญ่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้
หลังจากยืนกรานมาหลายสัปดาห์ว่าสเปนไม่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มทุนแบงก์ที่เผชิญวิกฤตจากหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ ในที่สุดนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราฮอย ก็ถูกกดดันให้ต้องเอ่ยปากขอความช่วยเหลือเพื่อป้องกันหายนะเลวร้าย
รัฐมนตรีคลัง 17 ชาติยูโรโซนตอบสนองทันทีด้วยการประกาศปล่อยกู้มาดริดถึง 100,000 ล้านยูโร (125 ล้านดอลลาร์) เมื่อวันเสาร์ (9) เพื่อฟื้นความมั่นใจของนักลงทุนและสร้างปราการปกป้องใหม่ภายหลังการเข้าอุ้มกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสนับจากปี 2010
กระนั้น ปราการดังกล่าวอาจทลายลงในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ (17) จากกระแสความโกรธแค้นของชาวกรีซที่จะแสดงออกมาในการหย่อนบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภา ส่งผลให้ตลาดกลับมาปั่นป่วนใหม่และกระทบต่อสเปนและอิตาลีเป็นด่านแรก
ขณะเดียวกัน แม้ราฮอยระบุว่า มาตรการปฏิรูปที่ผ่านมาช่วยให้สเปนไม่ต้องขอรับความช่วยเหลือเพื่อฟื้นเศรษฐกิจทั้งระบบ แต่นักวิเคราะห์กลับมองว่า เงินอัดฉีดแบงก์อาจเป็นการโหมโรงสำหรับสถานการณ์ดังกล่าว
อิริก นีลเซน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของยูนิเครดิต มองว่าการเพิ่มทุนแบงก์จะช่วยแก้ไขจุดอ่อน 3 ส่วนของสเปนคือ ธนาคาร แคว้นต่างๆ ที่มีอำนาจปกครองตนเอง และความอ่อนแอเชิงระบบ
ทว่า คาร์ล วีแลน นักเศรษฐศาสตร์ของยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจในดับลิน ไอร์แลนด์ กลับมองว่าภาระจากการเพิ่มทุนให้แก่พวกแบงก์อ่อนแอหรือภาระการขาดทุนจากการที่ต้องเข้าซื้อแบงก์ขี้โรค อย่างไรเสียก็จะตกอยู่กับชาวสเปน ดังนั้น ความคืบหน้าเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจจบลงโดยที่สเปนไม่สามารถเข้าระดมทุนในตลาดพันธบัตรได้
หลังจากยืนกรานมาหลายสัปดาห์ว่าสเปนไม่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มทุนแบงก์ที่เผชิญวิกฤตจากหนี้เสียในภาคอสังหาริมทรัพย์ ในที่สุดนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราฮอย ก็ถูกกดดันให้ต้องเอ่ยปากขอความช่วยเหลือเพื่อป้องกันหายนะเลวร้าย
รัฐมนตรีคลัง 17 ชาติยูโรโซนตอบสนองทันทีด้วยการประกาศปล่อยกู้มาดริดถึง 100,000 ล้านยูโร (125 ล้านดอลลาร์) เมื่อวันเสาร์ (9) เพื่อฟื้นความมั่นใจของนักลงทุนและสร้างปราการปกป้องใหม่ภายหลังการเข้าอุ้มกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสนับจากปี 2010
กระนั้น ปราการดังกล่าวอาจทลายลงในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ (17) จากกระแสความโกรธแค้นของชาวกรีซที่จะแสดงออกมาในการหย่อนบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภา ส่งผลให้ตลาดกลับมาปั่นป่วนใหม่และกระทบต่อสเปนและอิตาลีเป็นด่านแรก
ขณะเดียวกัน แม้ราฮอยระบุว่า มาตรการปฏิรูปที่ผ่านมาช่วยให้สเปนไม่ต้องขอรับความช่วยเหลือเพื่อฟื้นเศรษฐกิจทั้งระบบ แต่นักวิเคราะห์กลับมองว่า เงินอัดฉีดแบงก์อาจเป็นการโหมโรงสำหรับสถานการณ์ดังกล่าว
อิริก นีลเซน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของยูนิเครดิต มองว่าการเพิ่มทุนแบงก์จะช่วยแก้ไขจุดอ่อน 3 ส่วนของสเปนคือ ธนาคาร แคว้นต่างๆ ที่มีอำนาจปกครองตนเอง และความอ่อนแอเชิงระบบ
ทว่า คาร์ล วีแลน นักเศรษฐศาสตร์ของยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจในดับลิน ไอร์แลนด์ กลับมองว่าภาระจากการเพิ่มทุนให้แก่พวกแบงก์อ่อนแอหรือภาระการขาดทุนจากการที่ต้องเข้าซื้อแบงก์ขี้โรค อย่างไรเสียก็จะตกอยู่กับชาวสเปน ดังนั้น ความคืบหน้าเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจจบลงโดยที่สเปนไม่สามารถเข้าระดมทุนในตลาดพันธบัตรได้