สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ว่า ประชาชนเกือบทั่วทุกมุมโลก จะมีโอกาสได้รับชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ในวันที่ 4 มิถุนายน นี้ โดยประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และเอเชียตะวันออก จะสามารถรับชมได้ชัดที่สุด
ในรายงานขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา ระบุว่า ปรากฏการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นจันทรุปราคาบางส่วนครั้งแรกของปีนี้ โดยจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เวลา 08.48 น. - 13.18 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (15.48 น. - 20.18 น. ตามเวลาในประเทศไทย)
ทั้งนี้ หากสภาพอากาศปลอดโปร่ง ประชาชนในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงปาปัวนิวกินี จะสามารถรับชมปรากฏการณ์ธรรมชาติครั้งนี้ได้โดยตลอด ขณะที่ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะรับชมได้บางส่วน
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่นักดาราศาสตร์ และผู้คนทั่วโลกต่างเฝ้ารอ คือ การที่ดาวศุกร์จะโคจรเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงผ่านหน้าโลก และดวงอาทิตย์ ในวันที่ 5 มิถุนายนนี้ โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 40 นาที (ตรงกับช่วงเช้าวันที่ 6 มิถุนายน ตามเวลาในประเทศไทย) ทำให้เราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และโลก เรียงตัวเป็นเส้นตรงแนวเดียวกัน โดยจะเห็นดาวศุกร์เป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็ก เคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ ซึ่งประชาชนในอเมริกาเหนือจะสามารถเห็นชัดที่สุด ทั้งนี้ หากพลาดชม จะต้องรออีก 105 ปี ถึงปี 2660
ในรายงานขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา ระบุว่า ปรากฏการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือเป็นจันทรุปราคาบางส่วนครั้งแรกของปีนี้ โดยจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เวลา 08.48 น. - 13.18 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (15.48 น. - 20.18 น. ตามเวลาในประเทศไทย)
ทั้งนี้ หากสภาพอากาศปลอดโปร่ง ประชาชนในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงปาปัวนิวกินี จะสามารถรับชมปรากฏการณ์ธรรมชาติครั้งนี้ได้โดยตลอด ขณะที่ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะรับชมได้บางส่วน
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่นักดาราศาสตร์ และผู้คนทั่วโลกต่างเฝ้ารอ คือ การที่ดาวศุกร์จะโคจรเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงผ่านหน้าโลก และดวงอาทิตย์ ในวันที่ 5 มิถุนายนนี้ โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 40 นาที (ตรงกับช่วงเช้าวันที่ 6 มิถุนายน ตามเวลาในประเทศไทย) ทำให้เราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และโลก เรียงตัวเป็นเส้นตรงแนวเดียวกัน โดยจะเห็นดาวศุกร์เป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็ก เคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ ซึ่งประชาชนในอเมริกาเหนือจะสามารถเห็นชัดที่สุด ทั้งนี้ หากพลาดชม จะต้องรออีก 105 ปี ถึงปี 2660