ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือ กรุงเทพโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 32 แห่ง จำนวน 70 คน เรื่อง "วิกฤตหนี้กรีซกับมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ไทย" พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 67.1 เชื่อว่า ปัญหาของกรีซ จะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป และทำให้เศรษฐกิจโลกทรุดลง หรือแย่กว่าปัจจุบัน
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 40.0 คาดว่า รัฐบาลใหม่ของกรีซจะเลือกแนวทางยืนหยัดที่จะอยู่กับยูโรโซนต่อไป ขณะที่ ร้อยละ 32.9 เชื่อว่า กรีซ จะประกาศออกจากยูโรโซน และเลิกใช้เงินยูโร ซึ่งหมายความว่า หลังจากนี้ กรีซจะมีค่าเงินเป็นของตนเองและสามารถลดค่าเงินของตนได้ ทำให้สามารถกระตุ้นภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ทำให้คนมีงานทำ และสามารถออกจากวิกฤติได้ในที่สุด
เมื่อถามต่อว่า แนวทางใดจะใช้ระยะเวลาน้อยกว่ากันในการที่จะทำให้เศรษฐกิจ มีการปรับตัวดีขึ้น ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 38.6 เชื่อว่า แนวทางการออกจากยูโรโซน จะใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าแนวทางการยืนหยัดอยู่กับยูโรโซน และใช้เงินยูโรต่อไป โดยมีนักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 50.0 เชื่อว่า หากกรีซอยู่กับยูโรโซน กรีซต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปีกว่าที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่หากอออกจากยูโรโซน และเลิกใช้เงินยูโร นักเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อว่า จะใช้เวลามากกว่า 5 ปีเช่นกันจะลดลงเหลือ ร้อยละ 31.4
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 42.9 เห็นว่า เงื่อนไขของอียู และไอเอ็มเอฟ ที่ให้กรีซรัดเข็มขัด เพื่อแลกกับเงินกู้ เป็นการดำเนินการที่ถูกทางแล้ว โดยให้เหตุผลว่า การสร้างวินัยทางการคลังเป็นสิ่งที่จำเป็นในการแก้วิกฤต
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 40.0 คาดว่า รัฐบาลใหม่ของกรีซจะเลือกแนวทางยืนหยัดที่จะอยู่กับยูโรโซนต่อไป ขณะที่ ร้อยละ 32.9 เชื่อว่า กรีซ จะประกาศออกจากยูโรโซน และเลิกใช้เงินยูโร ซึ่งหมายความว่า หลังจากนี้ กรีซจะมีค่าเงินเป็นของตนเองและสามารถลดค่าเงินของตนได้ ทำให้สามารถกระตุ้นภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ทำให้คนมีงานทำ และสามารถออกจากวิกฤติได้ในที่สุด
เมื่อถามต่อว่า แนวทางใดจะใช้ระยะเวลาน้อยกว่ากันในการที่จะทำให้เศรษฐกิจ มีการปรับตัวดีขึ้น ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 38.6 เชื่อว่า แนวทางการออกจากยูโรโซน จะใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าแนวทางการยืนหยัดอยู่กับยูโรโซน และใช้เงินยูโรต่อไป โดยมีนักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 50.0 เชื่อว่า หากกรีซอยู่กับยูโรโซน กรีซต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปีกว่าที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่หากอออกจากยูโรโซน และเลิกใช้เงินยูโร นักเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อว่า จะใช้เวลามากกว่า 5 ปีเช่นกันจะลดลงเหลือ ร้อยละ 31.4
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 42.9 เห็นว่า เงื่อนไขของอียู และไอเอ็มเอฟ ที่ให้กรีซรัดเข็มขัด เพื่อแลกกับเงินกู้ เป็นการดำเนินการที่ถูกทางแล้ว โดยให้เหตุผลว่า การสร้างวินัยทางการคลังเป็นสิ่งที่จำเป็นในการแก้วิกฤต