กระทรวงอุตสาหกรรมกำชับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ.ให้เฝ้าระวังภัยแล้งในเขตนิคมจำนวน 5 แห่ง ในภาคตะวันออก คือ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เหมราช เอเชีย ผาแดง และอาร์ไอแอล หลังพบว่าปริมาณน้ำฝนน้อยลงกว่าทุกปี ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด มีปริมาณรวมลดลงร้อยละ 51 ซึ่งหากปริมาณลดเหลือร้อยละ 30 จะส่งผลกระทบต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวว่า ได้เตรียมแผนนำน้ำเสียในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสามารถใช้ได้ประมาณร้อยละ 80-90 จากปริมาณน้ำเสียทั้งหมด และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ช่วงกลางปีนี้
สำหรับต้นทุนของน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ฝนในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ หากฝนทิ้งช่วงอาจทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ เหมือนเมื่อปี 2548 โดยที่ผ่านมาเกิดปัญหาภัยแล้ง ผู้ประกอบการต้องช่วยเหลือตนเองด้วยการสั่งซื้อน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้ สร้างอ่างเก็บน้ำของตนเอง และตกลงการหยุดซ่อมบำรุง เพื่อลดการใช้น้ำ และตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์น้ำทุกวัน
ทั้งนี้ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่ง มีความต้องการใช้น้ำถึงวันละ 220,000 ลูกบาศก์เมตร สูงขึ้นจากปี 2548 ที่มีความต้องการใช้น้ำวันละ 2 แสนลูกบาศก์เมตร ส่วนความต้องการใช้น้ำของ จ.ระยอง อยู่ที่วันละ 6 แสนลูกบาศก์เมตร
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวว่า ได้เตรียมแผนนำน้ำเสียในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสามารถใช้ได้ประมาณร้อยละ 80-90 จากปริมาณน้ำเสียทั้งหมด และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ช่วงกลางปีนี้
สำหรับต้นทุนของน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ฝนในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ หากฝนทิ้งช่วงอาจทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ เหมือนเมื่อปี 2548 โดยที่ผ่านมาเกิดปัญหาภัยแล้ง ผู้ประกอบการต้องช่วยเหลือตนเองด้วยการสั่งซื้อน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้ สร้างอ่างเก็บน้ำของตนเอง และตกลงการหยุดซ่อมบำรุง เพื่อลดการใช้น้ำ และตั้งวอร์รูมติดตามสถานการณ์น้ำทุกวัน
ทั้งนี้ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่ง มีความต้องการใช้น้ำถึงวันละ 220,000 ลูกบาศก์เมตร สูงขึ้นจากปี 2548 ที่มีความต้องการใช้น้ำวันละ 2 แสนลูกบาศก์เมตร ส่วนความต้องการใช้น้ำของ จ.ระยอง อยู่ที่วันละ 6 แสนลูกบาศก์เมตร