สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สรุปแนวทางการปล่อยลอยตัวแก๊สหุงต้มในภาคครัวเรือน ตรึงไว้ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อลดภาระการอุดหนุนของกองทุนน้ำมัน เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณา ก่อนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในเดือนพฤษภาคม
โดยแนวทางแรกใช้วิธีทยอยปรับราคาแก๊สหุงต้มทั้งขนาดตั้งแต่ 11 กิโลกรัมขึ้นไป แต่ยังตรึงราคาแก๊สหุงต้มขนาด 4 กิโลกรัมไว้ในราคาเดิม
ส่วนแนวทางที่ 2 จะทยอยปรับราคาขึ้นทุกขนาด แต่จะมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยภาครัฐจะชดเชยราคาแก๊สที่ปรับขึ้น ส่วนผู้ค้าแผงลอย และร้านอาหารขนาดใหญ่ จะมีมาตรการช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการปรับขึ้นราคาอาหาร โดยกำหนดโควตาการใช้ในแต่ละเดือน
ปัจจุบันมีถังแก๊สหุงต้มอยู่ในตลาด 24 ล้านใบ โดยกว่าครึ่งเป็นถังขนาด 15 กิโลกรัม ที่ครัวเรือนนิยมใช้ ส่วนถังขนาด 4 กิโลกรัม มีเพียง 2 ล้านใบ คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงาน มองว่า ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการลักลอบไปยังประเทศเพื่อบ้าน เพราะจะมีการเปลี่ยนจากถัง 15 กิโลกรัม มาเป็น 4 กิโลกรัม ในขณะที่ภาคครัวเรือน ที่เคยใช้ถังขนาด 15 กิโลกรัม จะเปลี่ยนมาใช้ถัง 4 กิโลกรัม จึงควรทยอยปรับขึ้นทั้งหมด และหามาตรการบรรเทาผลกระทบต่อภาคครัวเรือน เช่น คูปองบัตรส่วนลด เหมือนกรณีก๊าซเอ็นจีวี
โดยแนวทางแรกใช้วิธีทยอยปรับราคาแก๊สหุงต้มทั้งขนาดตั้งแต่ 11 กิโลกรัมขึ้นไป แต่ยังตรึงราคาแก๊สหุงต้มขนาด 4 กิโลกรัมไว้ในราคาเดิม
ส่วนแนวทางที่ 2 จะทยอยปรับราคาขึ้นทุกขนาด แต่จะมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยภาครัฐจะชดเชยราคาแก๊สที่ปรับขึ้น ส่วนผู้ค้าแผงลอย และร้านอาหารขนาดใหญ่ จะมีมาตรการช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการปรับขึ้นราคาอาหาร โดยกำหนดโควตาการใช้ในแต่ละเดือน
ปัจจุบันมีถังแก๊สหุงต้มอยู่ในตลาด 24 ล้านใบ โดยกว่าครึ่งเป็นถังขนาด 15 กิโลกรัม ที่ครัวเรือนนิยมใช้ ส่วนถังขนาด 4 กิโลกรัม มีเพียง 2 ล้านใบ คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงาน มองว่า ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการลักลอบไปยังประเทศเพื่อบ้าน เพราะจะมีการเปลี่ยนจากถัง 15 กิโลกรัม มาเป็น 4 กิโลกรัม ในขณะที่ภาคครัวเรือน ที่เคยใช้ถังขนาด 15 กิโลกรัม จะเปลี่ยนมาใช้ถัง 4 กิโลกรัม จึงควรทยอยปรับขึ้นทั้งหมด และหามาตรการบรรเทาผลกระทบต่อภาคครัวเรือน เช่น คูปองบัตรส่วนลด เหมือนกรณีก๊าซเอ็นจีวี