นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต.เห็นชอบให้เสนอแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ใน 4 เรื่องได้แก่ 1. การให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำส่งเงินสะสมในอัตราที่สูงกว่าเงินสมทบของนายจ้างได้ เพื่อเพิ่มเงินออมของลูกจ้างในกองทุนโดยไม่กระทบต่อการนำส่งเงินสมทบของนาย จ้าง ปัจจุบันกฎหมายกำหนดว่านายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราที่ไม่ต่ำ กว่าเงินสะสมของลูกจ้าง
2.ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพจากกองทุนเพราะออกจากงาน สามารถโอนเงินที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนหรือ เงินที่เหลือในกองทุนจากการขอรับเงินเป็นงวดไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีออกจากงานหรือ ชราภาพ เพื่อให้ลูกจ้างสามารถออมเงินในกองทุนแบบผูกพันระยะยาวได้ต่อเนื่อง
3.กรณีวิกฤตเศรษฐกิจสาธารณภัย หรือเหตุการณ์ร้ายแรงที่มีผลกระทบเป็นวงกว้าง และลูกจ้างหรือนายจ้างที่ไม่พร้อมที่จะส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน สามารถหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินดังกล่าวได้คราวละไม่เกิน 1 ปี โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งอาจขยายระยะเวลาหรือกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติได้ตามความจำเป็น และสุดท้ายการให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเภทกองทุนหลายนายจ้าง (pooled fund) มีทางเลือกในการบันทึกรายได้บางประเภทให้เหมาะสมกับลักษณะของสมาชิกกองทุน
2.ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพจากกองทุนเพราะออกจากงาน สามารถโอนเงินที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนหรือ เงินที่เหลือในกองทุนจากการขอรับเงินเป็นงวดไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีออกจากงานหรือ ชราภาพ เพื่อให้ลูกจ้างสามารถออมเงินในกองทุนแบบผูกพันระยะยาวได้ต่อเนื่อง
3.กรณีวิกฤตเศรษฐกิจสาธารณภัย หรือเหตุการณ์ร้ายแรงที่มีผลกระทบเป็นวงกว้าง และลูกจ้างหรือนายจ้างที่ไม่พร้อมที่จะส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน สามารถหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินดังกล่าวได้คราวละไม่เกิน 1 ปี โดยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งอาจขยายระยะเวลาหรือกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติได้ตามความจำเป็น และสุดท้ายการให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเภทกองทุนหลายนายจ้าง (pooled fund) มีทางเลือกในการบันทึกรายได้บางประเภทให้เหมาะสมกับลักษณะของสมาชิกกองทุน