ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล นักวิชาการรัฐศาสตร์ หนึ่งในกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ระบุถึงการชุมนุมเครือข่ายกลุ่มสยามสามัคคีในเย็นวันนี้ จะเป็นแนวทางการเคลื่อนไหวทางวิชาการ โดยระมัดระวังไม่ให้เป็นชนวนความขัดแย้งที่รุนแรง และจะอภิปรายคัดค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องหลัก โดยไม่นำกรณี รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ถูกทำร้ายร่างกายมาซ้ำเติม หรือเป็นประเด็นตอบโต้
ขณะที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่ รศ.วรเจตน์ถูกทำร้ายร่างกายเป็นเกมการเมือง ที่ถูกสร้างเรื่องขึ้นมาของบางฝ่าย ซึ่งสอดคล้องกับการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่นัดหมายในวันนี้ โดยได้ห้ามกลุ่ม นปช.อย่าไปร่วมสังเกตการณ์การชุมนุม เพราะว่าอาจจะตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ให้มีการปะทะกันเกิดขึ้น และเป็นเหตุของการล้มรัฐบาลได้
ส่วน นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ระบุว่า จากการประชุมได้มีความเห็นร่วมกันของกรรมาธิการว่าจะให้บัญญัติว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ที่จะคัดเลือกเข้ามานั้น ไม่มีสิทธิแก้ไขในหมวดที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูย เพื่อไม่มีการยุ่งเกี่ยวหมวดพระมหากษัตริย์ ส่วนหมวดองค์กรอิสระที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า จะให้ ส.ส.ร.พิจารณาเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้เป็นองค์กรอิสระ ส่วนเรื่องจำนวน และที่มาของ ส.ส.ร.เบื้องต้นกรรมาธิการยึดตามร่างแก้ไขรัฐบาล ที่กำหนดให้มี 99 คน แต่จะเปิดโอกาสให้กรรมาธิการ ส.ส.และ ส.ว.ที่มีความเห็นต่างกันแปรญัตติสงวนความเห็นได้ โดยคุณสมบัติคร่าวๆ ของ ส.ส.ร.มีดังนี้ อายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้นๆ 5 ปี หรือเกิดจังหวัดนั้น รับราชการในจังหวัดนั้น 5 ปี และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
ขณะที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่ รศ.วรเจตน์ถูกทำร้ายร่างกายเป็นเกมการเมือง ที่ถูกสร้างเรื่องขึ้นมาของบางฝ่าย ซึ่งสอดคล้องกับการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่นัดหมายในวันนี้ โดยได้ห้ามกลุ่ม นปช.อย่าไปร่วมสังเกตการณ์การชุมนุม เพราะว่าอาจจะตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ให้มีการปะทะกันเกิดขึ้น และเป็นเหตุของการล้มรัฐบาลได้
ส่วน นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ระบุว่า จากการประชุมได้มีความเห็นร่วมกันของกรรมาธิการว่าจะให้บัญญัติว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ที่จะคัดเลือกเข้ามานั้น ไม่มีสิทธิแก้ไขในหมวดที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูย เพื่อไม่มีการยุ่งเกี่ยวหมวดพระมหากษัตริย์ ส่วนหมวดองค์กรอิสระที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า จะให้ ส.ส.ร.พิจารณาเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้เป็นองค์กรอิสระ ส่วนเรื่องจำนวน และที่มาของ ส.ส.ร.เบื้องต้นกรรมาธิการยึดตามร่างแก้ไขรัฐบาล ที่กำหนดให้มี 99 คน แต่จะเปิดโอกาสให้กรรมาธิการ ส.ส.และ ส.ว.ที่มีความเห็นต่างกันแปรญัตติสงวนความเห็นได้ โดยคุณสมบัติคร่าวๆ ของ ส.ส.ร.มีดังนี้ อายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้นๆ 5 ปี หรือเกิดจังหวัดนั้น รับราชการในจังหวัดนั้น 5 ปี และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ