นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงต่อการเลิกจ้าง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก เพราะโรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงการปรับอัตราค่าจ้าง และนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยพบว่าขณะนี้มีแรงงานถึง 45,000 คน ที่ถูกเลิกจ้าง จากสถานประกอบการ 122 แห่ง และอีก 284 แห่ง ยังไม่สามารถเปิดกิจการได้ ส่งผลให้มีแรงงานที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง เนื่องจากยังรอการกลับเข้าทำงานของโรงงานที่ถูกน้ำท่วมอีกถึง 164,552 คน และเมื่อรวมกับอัตราการจ้างงานที่มีการปรับขึ้นอีก 40 เปอร์เซ็นต์ ทั่วประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการทบทวนนโยบายการจ้างงาน และอาศัยเหตุการณ์น้ำท่วมประกาศปิดกิจการ หรือเลิกงานไปเลย
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงในการเลิกจ้างแรงงาน ประกอบด้วย การผลิตยานยนต์ เครื่องจักรสำนักงาน อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไป โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยาง เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น โดยผู้ประกอบการต้องใช้ต้นทุนเพิ่มเติม เพิ่มขึ้นต่อเดือนคิดเป็น 6-10 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราค่าจ้างเดิม
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงในการเลิกจ้างแรงงาน ประกอบด้วย การผลิตยานยนต์ เครื่องจักรสำนักงาน อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไป โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยาง เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น โดยผู้ประกอบการต้องใช้ต้นทุนเพิ่มเติม เพิ่มขึ้นต่อเดือนคิดเป็น 6-10 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราค่าจ้างเดิม