สภาผู้เทนราษฎรสามารถอภิปรายรับทราบการพิจารณากฎหมายจำนวน 4 ฉบับของรัฐบาลได้เพียง 2 ฉบับ คือ พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ และพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เนื่องจากมี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าชื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ และพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินที่กระทรวงการคลังกู้ เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรืออีก 2 ฉบับว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ จึงต้องชะลอการพิจารณาออกไป
โดยภาพรวมของการชี้แจงของรัฐบาลและการอภิรายของ ส.ส.พรรครัฐบาลคือ การเทียบการออกพระราชกำหนดกู้เงินของรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ในอดีตว่า สามารถดำเนินการได้ตามรัฐธรรมนูญ พร้อมกับยืนยันถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะฟื้นฟูแก้ไข และหาแนวทางป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคต โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยืนยันถึงความพร้อมในการตรวจสอบ ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านตั้งขอสังเกตถึงความไม่ชัดเจนในรายละเอียดของกฎหมาย และย้ำถึงความทั่วถึงในการประกันภัยตามกฎหมาย เพราะหากเป็นการเลือกปฏิบัติเตรียมยื่นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมทันที
สำหรับเหตุผลที่ต้องยื่นตีความพระราชกำหนดอีก 2 ฉบับ นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงเพิ่มเติมถึงข้อสังเกตที่พบว่า มีการบิดเบือนตัวเลขทางการเงิน และเป็นการดำเนินการที่ผลักภาระไปไว้ให้กับประชาชน
ส่วนนายปรีชา สุวรรณทัต นักวิชาการด้านการเงิน การคลัง เห็นว่า การให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อชำระหนี้สาธารณะ อาจขัดต่อวินัยการเงิน การคลัง เพราะรายได้และทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นเงินของแผ่นดิน จะนำมาใช้ได้ต่อเมื่อเป็นบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังเท่านั้น แต่พระราชกำหนดไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว
โดยภาพรวมของการชี้แจงของรัฐบาลและการอภิรายของ ส.ส.พรรครัฐบาลคือ การเทียบการออกพระราชกำหนดกู้เงินของรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ในอดีตว่า สามารถดำเนินการได้ตามรัฐธรรมนูญ พร้อมกับยืนยันถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะฟื้นฟูแก้ไข และหาแนวทางป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคต โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยืนยันถึงความพร้อมในการตรวจสอบ ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านตั้งขอสังเกตถึงความไม่ชัดเจนในรายละเอียดของกฎหมาย และย้ำถึงความทั่วถึงในการประกันภัยตามกฎหมาย เพราะหากเป็นการเลือกปฏิบัติเตรียมยื่นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมทันที
สำหรับเหตุผลที่ต้องยื่นตีความพระราชกำหนดอีก 2 ฉบับ นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงเพิ่มเติมถึงข้อสังเกตที่พบว่า มีการบิดเบือนตัวเลขทางการเงิน และเป็นการดำเนินการที่ผลักภาระไปไว้ให้กับประชาชน
ส่วนนายปรีชา สุวรรณทัต นักวิชาการด้านการเงิน การคลัง เห็นว่า การให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อชำระหนี้สาธารณะ อาจขัดต่อวินัยการเงิน การคลัง เพราะรายได้และทรัพย์สินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เป็นเงินของแผ่นดิน จะนำมาใช้ได้ต่อเมื่อเป็นบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังเท่านั้น แต่พระราชกำหนดไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว