คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) แถลงการณ์เพื่อย้ำจุดยืนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หลังคณะรัฐมนตรีมีมติให้เลื่อนปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นวันที่ 1 เมษายน 2555 เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยให้ปรับร้อยละ 39.5 นำร่องใน 7 จังหวัด และปรับให้ครบทุกจังหวัด ในวันที่ 1 มกราคม 2556 และไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเวลา 2-3 ปี ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์ยื่นข้อเรียกร้องใน 3 ข้อ คือ 1.ให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศในทันที โดยคำนึงถึงความเสมอภาคของแรงงานกับภาคราชการ ที่มีอัตราเงินเดือนเท่ากันทั่วประเทศ 2.คัดค้านมติคณะกรรมการไตรภาคีในการไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำใน 2-3 ปี หลังการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และให้มีโครงสร้างค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรม และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และมีการปรับขึ้นค่าจ้างทุกปีทุกสถานประกอบการ และสุดท้ายรัฐบาลต้องมีมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ส่งผลกดดันต่อประชาชน เช่น ราคาน้ำมัน ก๊าซเอ็นจีวีและแอลพีจี พร้อมกันนี้จะไม่ฟ้องศาลปกครอง เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อการขึ้นค่าจ้างแรงงาน
ประธาน คสรท. กล่าวต่อไปว่า หากไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ ภายใน 1 เมษายน 2555 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะรณรงค์เคลื่อนไหวกับแรงงานทั่วประเทศ ด้วยการชุมนุมเรียกร้อง
ประธาน คสรท. กล่าวต่อไปว่า หากไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ ภายใน 1 เมษายน 2555 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะรณรงค์เคลื่อนไหวกับแรงงานทั่วประเทศ ด้วยการชุมนุมเรียกร้อง