เครือข่ายแรงงานเพื่อการปฏิรูปค่าจ้างที่เป็นธรรมกว่า 1,000 คน ประกอบด้วย สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานในย่านอุตสาหกรรมต่างๆ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จัดเสวนาและชูแผ่นป้ายแสดงจุดยืนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ พร้อมเดินขบวนรณรงค์จากลานพระบรมรูปทรงม้าไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่อง ในวันที่ 1 เมษายน 2555 ส่วน 70 จังหวัดที่เหลือให้ปรับขึ้นในวันที่ 1 มกราคม 2556 และให้คงอัตราค่าจ้างของทุกจังหวัดไว้เป็นเวลา 2 ปี ซึ่งเครือข่ายแรงงานเห็นว่า ไม่ตรงกับที่นโยบายพรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้กับผู้ใช้แรงงาน 38 ล้านคน ที่ระบุว่า จะให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละ 300 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2555 การไม่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ใช้แรงงาน กับรัฐวิสาหกิจและข้าราชการ ที่ปรับขั้นเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างให้กับแรงงานที่มีประสบการณ์ควรปรับเป็นขั้นบันไดให้สูงกว่าขั้นต่ำ เพื่อลดความขัดแย้งของแรงงานที่อาจจะเกิดขึ้น ภายในสถานประกอบการ โดยหลังวันที่ 1 เมษายน 2555 เครือข่ายแรงงานจะมีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง หากไม่มีการทบทวนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างให้กับแรงงานที่มีประสบการณ์ควรปรับเป็นขั้นบันไดให้สูงกว่าขั้นต่ำ เพื่อลดความขัดแย้งของแรงงานที่อาจจะเกิดขึ้น ภายในสถานประกอบการ โดยหลังวันที่ 1 เมษายน 2555 เครือข่ายแรงงานจะมีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง หากไม่มีการทบทวนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ