ในวันนี้สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย และสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย เดินทางเข้าพบ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้รัฐบาลทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ในการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ที่จะเริ่มในวันที่ 16 มกราคม นี้ออกไปก่อน และขอให้ ปตท.ชี้แจงราคาต้นทุนราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ชัดเจนและเป็นธรรม พร้อมต้องการให้ ปตท.สร้างความมั่นใจในแผนบริหารจัดการที่จะไม่ทำให้ก๊าซเอ็นจีวีขาดแคลน
ในการหารือครั้งนี้มี นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.และ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เข้าพูดคุยด้วย
นายยู เจียรยืนยงพงษ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า กลุ่มผู้ประกอบการรถบรรทุก ผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก.และผู้ประกอบการ บขส.เตรียมนำรถมาประท้วงกระทรวงพลังงานในวันจันทร์ที่ 9 มกราคมนี้ โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ จุดแรกที่บริษัท ปตท.และกระทรวงพลังงาน จะมีรถเข้าร่วมประมาณ 300 คัน เป็นรถเมล์ 100 คัน รถบรรทุก 100 คัน และรถร่วม บขส.อีก 100 คัน ส่วนรถแท็กซี่จะรวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ส่วนที่ 2 คือผู้ประกอบการขนส่งในจังหวัดสำคัญ เช่น ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี ที่พร้อมจะเข้ากรุงเทพมหานครมาสมทบเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการขนส่ง ระบุว่า แม้ปัจจุบันภาคขนส่งรถบรรทุกจะใช้ก๊าซเอ็นจีวี เพียงร้อยละ 5 หรือประมาณ 50,000-60,000 คัน ในการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีจะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซลถึงร้อยละ 20 โดยเฉพาะค่าสึกหรอ และเห็นว่าราคาก๊าซเอ็นจีวีที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของราคาน้ำมันดีเซล หรือไม่เกินกิโลกรัมละ 10.50 บาท จากปัจจุบันที่กิโลกรัมละ 8.50 บาท ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าที่จะผลักภาระไปให้ผู้บริโภคที่ต้องซื้อสินค้าแพงขึ้น
ในการหารือครั้งนี้มี นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.และ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เข้าพูดคุยด้วย
นายยู เจียรยืนยงพงษ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า กลุ่มผู้ประกอบการรถบรรทุก ผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก.และผู้ประกอบการ บขส.เตรียมนำรถมาประท้วงกระทรวงพลังงานในวันจันทร์ที่ 9 มกราคมนี้ โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ จุดแรกที่บริษัท ปตท.และกระทรวงพลังงาน จะมีรถเข้าร่วมประมาณ 300 คัน เป็นรถเมล์ 100 คัน รถบรรทุก 100 คัน และรถร่วม บขส.อีก 100 คัน ส่วนรถแท็กซี่จะรวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ส่วนที่ 2 คือผู้ประกอบการขนส่งในจังหวัดสำคัญ เช่น ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี ที่พร้อมจะเข้ากรุงเทพมหานครมาสมทบเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการขนส่ง ระบุว่า แม้ปัจจุบันภาคขนส่งรถบรรทุกจะใช้ก๊าซเอ็นจีวี เพียงร้อยละ 5 หรือประมาณ 50,000-60,000 คัน ในการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีจะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซลถึงร้อยละ 20 โดยเฉพาะค่าสึกหรอ และเห็นว่าราคาก๊าซเอ็นจีวีที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของราคาน้ำมันดีเซล หรือไม่เกินกิโลกรัมละ 10.50 บาท จากปัจจุบันที่กิโลกรัมละ 8.50 บาท ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าที่จะผลักภาระไปให้ผู้บริโภคที่ต้องซื้อสินค้าแพงขึ้น