กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้ปี 2555 ประชาชนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคใน 5 กลุ่ม คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนคือ ฉี่หนู หรือไข้หวัด โรคหูดับ โรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ โรคติดต่อโดยแมลงได้แก่ ไข้เลือดออกทั้งแบบธรรมดาและรุนแรง โรคมาลาเรีย จึงขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง ซึ่งกรมควบคุมโรคจะเฝ้าระวัง และรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันตัวแบบบูรณาการ
ขณะที่สำนักระบาดวิทยา เปิดเผยถึงสถานการณ์ของโรคในปีนี้ว่า ปีที่ผ่านมานั้นโรคไข้หวัดใหญ่มีอัตราผู้ป่วยลดลงกว่าครึ่ง จากผู้ป่วย 1 แสนรายเหลือ 50,000 คน เสียชีวิต 7 คน แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าโรคนี้เกิดในประชากรเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะแรงงานทั้งไทยและต่างชาติในภาคเหนือที่มีอากาศหนาวจัด ซึ่งเกิดการระบาดมากที่สุด
สำหรับโรคระบบทางเดินอาหาร พบผู้ป่วย 85712 คน เสียชีวิตแล้ว 3 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคอาหารเป็นพิษ พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรคฉี่หนูพบการระบาดอยู่ที่ 3,699 คน เสียชีวิต 66 คน พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรคไข้หวัดนกขณะนี้ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย โรคหูดับ ซึ่งสถานการณ์ล่าสุดในปี 53 พบผู้ป่วย 185 คน เสียชีวิต 12 คน พบมากในช่วงฤดูร้อน ส่วนโรคติดต่อนำโดยแมลงได้แก่ ไข้เลือดออก และมาลาเรีย ซึ่งมีพาหะจากยุง พบว่าผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกทั่วไป 63,971 คน เสียชีวิต 59 คน ไข้เลือดออกรุนแรง 1,214 คน เสียชีวิต 43 คน ส่วนไข้มาลาเรียพบผู้ป่วย 19,524 คน ซึ่งปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขเน้นการกำจัดพาหะของโรคคือ ยุงลาย และยุงก้นปล่อง
ขณะที่สำนักระบาดวิทยา เปิดเผยถึงสถานการณ์ของโรคในปีนี้ว่า ปีที่ผ่านมานั้นโรคไข้หวัดใหญ่มีอัตราผู้ป่วยลดลงกว่าครึ่ง จากผู้ป่วย 1 แสนรายเหลือ 50,000 คน เสียชีวิต 7 คน แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าโรคนี้เกิดในประชากรเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะแรงงานทั้งไทยและต่างชาติในภาคเหนือที่มีอากาศหนาวจัด ซึ่งเกิดการระบาดมากที่สุด
สำหรับโรคระบบทางเดินอาหาร พบผู้ป่วย 85712 คน เสียชีวิตแล้ว 3 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคอาหารเป็นพิษ พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรคฉี่หนูพบการระบาดอยู่ที่ 3,699 คน เสียชีวิต 66 คน พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรคไข้หวัดนกขณะนี้ยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย โรคหูดับ ซึ่งสถานการณ์ล่าสุดในปี 53 พบผู้ป่วย 185 คน เสียชีวิต 12 คน พบมากในช่วงฤดูร้อน ส่วนโรคติดต่อนำโดยแมลงได้แก่ ไข้เลือดออก และมาลาเรีย ซึ่งมีพาหะจากยุง พบว่าผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกทั่วไป 63,971 คน เสียชีวิต 59 คน ไข้เลือดออกรุนแรง 1,214 คน เสียชีวิต 43 คน ส่วนไข้มาลาเรียพบผู้ป่วย 19,524 คน ซึ่งปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขเน้นการกำจัดพาหะของโรคคือ ยุงลาย และยุงก้นปล่อง