xs
xsm
sm
md
lg

กยน.เสนอออก พ.ร.ฎ.บริหารจัดการน้ำ-ตั้งศูนย์ข้อมูลภัยพิบัติน้ำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการด้านการวางแผนและกำหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น ของ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) กล่าวว่า การประชุมร่วมกันระหว่าง กยน.และ คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ที่มี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันที่ 6 ธันวาคมนี้ คณะอนุกรรมการฯ เตรียมเสนอให้มีการร่างพระราชกฤษฎีกาการบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤต เพื่อใช้เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำเป็นกรณีพิเศษในช่วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ ครอบคลุมถึงการพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาดูแลสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่างๆสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว สำหรับข้อมูลที่จำเป็นในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ คณะอนุกรรมการฯจะเสนอให้ตั้งศูนย์ข้อมูลภัยพิบัติน้ำแห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่ามีความจำเป็นเพียงใดที่จะตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาใหม่หรือจะพัฒนาระบบข้อมูลน้ำในศูนย์ข้อมูลภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อให้สามารถสนับสนุนข้อมูลน้ำให้กับหน่วยงานต่างๆ อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายระบบเตือนภัยของศูนย์ฯต้องสามารถเตือนภัยน้ำท่วมได้ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ สามารถคำนวณปริมาณน้ำและทิศทางการไหลของน้ำได้อย่างแม่นยำ โดยศูนย์ข้อมูลภัยพิบัติน้ำแห่งชาติมีหน้าที่หลัก คือ ประกาศเตือนทิศทางการไหลของน้ำ ปริมาณของน้ำ และระยะเวลาที่น้ำจะไหลมาถึง ที่สำคัญต้องมีการบูรณาการข้อมูล 6ด้าน ประกอบด้วย ข้อมูลภาคอุตสาหกรรม เช่น ที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมและแผนป้องกันนิคมอุตสาหกรรมจากน้ำท่วม ข้อมูลอุทกศาสตร์ ข้อมูลสาธารณูปโภค ข้อมูลภูมิศาสตร์ ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ และข้อมูลภัยพิบัติ
สำหรับการหาแนวทางป้องกันน้ำท่วมระยะเร่งด่วนคณะอนุกรรมการฯไม่ได้หารือเรื่องการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม แต่เน้นให้ความสำคัญกับการแก้ไขระบบระบายน้ำที่มีอยู่ ได้แก่ การขุดลอกคลอง การซ่อมแซมประตูระบายน้ำ การซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการจัดการน้ำต้องจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และเมื่อน้ำผ่านพื้นที่เศรษฐกิจ เช่น กรุงเทพมหานคร ต้องสามารถระบายน้ำไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ท่วมขังเป็นเวลานาน และมีการเสนอให้ปรับปรุงโทรมาตรน้ำเตือนภัยที่มีอยู่ 392 สถานี ของ กรมชลประทาน 348 สถานี
กำลังโหลดความคิดเห็น