นายธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง ผู้จัดการสำนักงานภาคใต้ตอนล่าง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เปิดเผยว่า ขณะนี้องค์กรชุมชนหลายแห่งโดยเฉพาะพื้นที่ประสบภัยซ้ำซากอาทิ จ.ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ซึ่งรวมตัวเป็นเครือข่ายผู้ประสบภัยน้ำท่วมเตรียมรับมือภัยน้ำท่วมแล้วระดับหนึ่ง โดยสรุปบทเรียนจากอดีตและประสานความร่วมมือภาคีทั้งเอกชนและภาครัฐ เน้นหลักการพึ่งพาตนเองก่อน
นายรอเก็ก หัดเหม ประธานเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำตรัง กล่าวว่า ที่ผ่านมาชุมชนจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชุมชน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ลุ่มน้ำตรัง และพัฒนาอาสาสมัครเฝ้าระวังสายน้ำ ส่วนการรับมือเฉพาะหน้า ได้เตรียมข้อมูลคนป่วย คนชรา กำหนดพื้นที่จุดเสี่ยงจุดปลอดภัย จัดตั้งศูนย์ประสานความช่วยเหลือ ระดมทุนซื้อเรือท้องแบนมอบให้ชุมชนเสี่ยง และฝึกอบรมการปฐมพยาบาลอาสาสมัครกู้ชีพตำบลละ 10 คน
ว่าที่ ร.ต.กำพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานศูนย์จัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ภาคีในพื้นที่ตั้งเป้าว่า จะต้องไม่มีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติครั้งนี้ โดยการรับมือเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตัวเอง หากเกินความสามารถ จะประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อลดปัญหาความช่วยเหลือซ้ำซ้อน
ทั้งนี้ ได้จัดทำบริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ สถานีวิทยุเชื่อมต่อกับวิทยุชุมชน สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ต่างๆ และเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยผ่านวิทยุสื่อสาร
ขณะที่นายเศวต พรหมอินทร์ ผู้ใหญ่บ้านห้วยตง ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ กล่าวว่า ชาวบ้านได้ถางพื้นที่ทำลานจอดเฮลิคอปเตอร์ มีการตระเตรียมข้าวสารและน้ำดื่ม เครื่องปั่นไฟ ประสานงานกับวิทยุสื่อสารแม่ข่ายที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อเฝ้าระวัง นอกจากนี้มีการซักซ้อมหากฝนตกติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ชาวบ้านจะไปรวมตัวกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน
นายรอเก็ก หัดเหม ประธานเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำตรัง กล่าวว่า ที่ผ่านมาชุมชนจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชุมชน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ลุ่มน้ำตรัง และพัฒนาอาสาสมัครเฝ้าระวังสายน้ำ ส่วนการรับมือเฉพาะหน้า ได้เตรียมข้อมูลคนป่วย คนชรา กำหนดพื้นที่จุดเสี่ยงจุดปลอดภัย จัดตั้งศูนย์ประสานความช่วยเหลือ ระดมทุนซื้อเรือท้องแบนมอบให้ชุมชนเสี่ยง และฝึกอบรมการปฐมพยาบาลอาสาสมัครกู้ชีพตำบลละ 10 คน
ว่าที่ ร.ต.กำพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานศูนย์จัดการภัยพิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ภาคีในพื้นที่ตั้งเป้าว่า จะต้องไม่มีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติครั้งนี้ โดยการรับมือเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตัวเอง หากเกินความสามารถ จะประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อลดปัญหาความช่วยเหลือซ้ำซ้อน
ทั้งนี้ ได้จัดทำบริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ สถานีวิทยุเชื่อมต่อกับวิทยุชุมชน สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ต่างๆ และเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยผ่านวิทยุสื่อสาร
ขณะที่นายเศวต พรหมอินทร์ ผู้ใหญ่บ้านห้วยตง ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ กล่าวว่า ชาวบ้านได้ถางพื้นที่ทำลานจอดเฮลิคอปเตอร์ มีการตระเตรียมข้าวสารและน้ำดื่ม เครื่องปั่นไฟ ประสานงานกับวิทยุสื่อสารแม่ข่ายที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อเฝ้าระวัง นอกจากนี้มีการซักซ้อมหากฝนตกติดต่อกัน 3 ชั่วโมง ชาวบ้านจะไปรวมตัวกันที่ศาลาประจำหมู่บ้าน