นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตระกุล รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนปรนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับตู้สินค้านำเข้าที่หากปกติไม่นำออกภายใน 3 วัน จะเริ่มเก็บวันละ 500 บาท เนื่องจากขณะนี้โรงงานต่างๆ ไม่สามารถผลิตได้จากปัญหาอุทกภัย จึงจำเป็นต้องทิ้งตู้สินค้าไว้ที่ท่าเรือ ด้านการส่งออกมีปัญหาเช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถใช้ศักยภาพของท่าเรือคลองเตยได้ ผู้ส่งออกจึงมีภาระค่าขนส่งตู้สินค้าไปที่แหลมฉบัง จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในจุดนี้
สำหรับสินค้าอาหารภายในประเทศ นายพรศิลป์กล่าวว่า ไม่ได้ขาดแคลน แต่เป็นผลกระทบจากการตื่นตระหนกของผู้บริโภค และปัญหาด้านการขนส่ง เช่น ไข่ไก่ ในสถานการณ์ปกติกำลังการผลิตยังอยู่ที่ 27-28 ล้านฟองต่อเดือน มีบ้างที่บางฟาร์มเสียหาย และไข่บางส่วนมีปัญหาไม่สามารถขนส่งได้ ต้องเก็บในห้องแช่เย็นประมาณ 1-2 ล้านฟอง ปริมาณไข่ไก่จึงไม่ได้ขาดแคลน ปัญหาอยู่ที่การจัดการมากกว่า ดังนั้นหากสามารถจัดหารถขนส่งขนาดใหญ่ เช่น ขอทหารเข้าไปช่วยขนส่งจากราชบุรี นครนายก จะทำให้ปัญหานี้คลี่คลายลงได้ ส่วนการนำเข้าไข่ไก่ก็คงกระจายได้ในบริเวณรอบกรุงเทพมหานครเท่านั้น
สำหรับการส่งออกสินค้าอาหารของไทยปีนี้ในภาพรวม ตลอดทั้งปีน่าจะมีมูลค่า 800,000 ล้านบาท ลดลงประมาณร้อยละ 0.5 โดยตัวเลขเฉลี่ยต่อเดือนปีก่อนอยู่ที่ 65,000 ล้านบาท ปีนี้อยู่ที่ 64,000 ล้านบาทต่อเดือน ในแง่ของการส่งออกข้าว ทั้งปีจะได้ประมาณ 10 ล้านตัน จากที่ควรจะเป็น 11 ล้านตัน แต่ข้าวไทยได้ราคาที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ต้องติดตามการปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งคาดว่าจะได้ผลดี เพราะมีปริมาณน้ำมาก ผลผลิตจะได้มากขึ้นในปีหน้า ส่วนระดับราคาส่งออกต้องติดตามประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย ส่วนความเสียหายจากอุทกภัย ข้าวสารเสียหายประมาณ 2-3 ล้านตัน
สำหรับสินค้าอาหารภายในประเทศ นายพรศิลป์กล่าวว่า ไม่ได้ขาดแคลน แต่เป็นผลกระทบจากการตื่นตระหนกของผู้บริโภค และปัญหาด้านการขนส่ง เช่น ไข่ไก่ ในสถานการณ์ปกติกำลังการผลิตยังอยู่ที่ 27-28 ล้านฟองต่อเดือน มีบ้างที่บางฟาร์มเสียหาย และไข่บางส่วนมีปัญหาไม่สามารถขนส่งได้ ต้องเก็บในห้องแช่เย็นประมาณ 1-2 ล้านฟอง ปริมาณไข่ไก่จึงไม่ได้ขาดแคลน ปัญหาอยู่ที่การจัดการมากกว่า ดังนั้นหากสามารถจัดหารถขนส่งขนาดใหญ่ เช่น ขอทหารเข้าไปช่วยขนส่งจากราชบุรี นครนายก จะทำให้ปัญหานี้คลี่คลายลงได้ ส่วนการนำเข้าไข่ไก่ก็คงกระจายได้ในบริเวณรอบกรุงเทพมหานครเท่านั้น
สำหรับการส่งออกสินค้าอาหารของไทยปีนี้ในภาพรวม ตลอดทั้งปีน่าจะมีมูลค่า 800,000 ล้านบาท ลดลงประมาณร้อยละ 0.5 โดยตัวเลขเฉลี่ยต่อเดือนปีก่อนอยู่ที่ 65,000 ล้านบาท ปีนี้อยู่ที่ 64,000 ล้านบาทต่อเดือน ในแง่ของการส่งออกข้าว ทั้งปีจะได้ประมาณ 10 ล้านตัน จากที่ควรจะเป็น 11 ล้านตัน แต่ข้าวไทยได้ราคาที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ต้องติดตามการปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งคาดว่าจะได้ผลดี เพราะมีปริมาณน้ำมาก ผลผลิตจะได้มากขึ้นในปีหน้า ส่วนระดับราคาส่งออกต้องติดตามประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย ส่วนความเสียหายจากอุทกภัย ข้าวสารเสียหายประมาณ 2-3 ล้านตัน