ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ออกบทวิจัยประเมินแนวโน้มความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์น้ำท่วมน้ำว่า เหตุการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรง ที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทย เป็นมูลค่ามหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และกรุงเทพฯได้รับผลกระทบด้วย คาดว่า จะฉุดเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4/54 หดตัวลงถึง 3.3% ในกรณีพื้นฐาน แต่กรณีเลวร้ายอาจหดตัวถึง 6.3 % จากเดิมที่เคยคาดว่าจะขยายตัว 4.9% พร้อมกันนั้น ศูนย์วิจัยฯ ได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 54 ลงมาเหลือเพียง 1.7% ในกรณีพื้นฐาน และ 0.9% ในกรณีเลวร้าย จากเดิมที่เคยคาดว่าอาจขยายตัว 3.8%
โดยขณะนี้ยังคงมีการรุกคืบของมวลน้ำไปตามพื้นที่ ที่เป็นทางผ่านของน้ำออกสู่ทะเล โดยเริ่มเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ทั่วทั้งกรุงเทพฯ คงไม่อาจหลีกเลี่ยงภาวะน้ำท่วม ในขณะที่แนวเส้นทางผันน้ำลงสู่ทะเลทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการนั้น ยังเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมอีก 7 แห่ง ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม และยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ศูนย์วิจัยฯ คาดว่า มหันตภัยครั้งนี้อาจสร้างความสูญเสียต่อจีดีพีเป็นมูลค่าสุทธิ 242,200 ล้านบาท ในกรณีพื้นฐาน แต่ในกรณีเลวร้ายความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยสุทธิอาจสูงถึง 330,800 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.3-3.1% ของจีดีพี โดยภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายหนักที่สุดมีมูลค่าประมาณ 171,900-234,900 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์
นอกจากนี้ยังมีความเสียหายในภาคการเกษตร มูลค่า 37,100-46,000 ล้านบาท และภาคบริการและอื่นๆ รวม 33,200-49,900 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายของรัฐในการเยียวยาผู้ประสบภัย และการใช้จ่ายลงทุนเพื่อบูรณะอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และสาธารณูปโภค รวมถึงการเสริมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมสำหรับช่วงฤดูกาลหน้า ทั้งให้ส่วนของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ประกอบกับฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในไตรมาสสุดท้าย
ของปีนี้ น่าจะเป็นแรงหนุนที่เข้ามาชดเชยกันได้ในระดับหนึ่ง
โดยขณะนี้ยังคงมีการรุกคืบของมวลน้ำไปตามพื้นที่ ที่เป็นทางผ่านของน้ำออกสู่ทะเล โดยเริ่มเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ทั่วทั้งกรุงเทพฯ คงไม่อาจหลีกเลี่ยงภาวะน้ำท่วม ในขณะที่แนวเส้นทางผันน้ำลงสู่ทะเลทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการนั้น ยังเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมอีก 7 แห่ง ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม และยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ศูนย์วิจัยฯ คาดว่า มหันตภัยครั้งนี้อาจสร้างความสูญเสียต่อจีดีพีเป็นมูลค่าสุทธิ 242,200 ล้านบาท ในกรณีพื้นฐาน แต่ในกรณีเลวร้ายความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยสุทธิอาจสูงถึง 330,800 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.3-3.1% ของจีดีพี โดยภาคอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายหนักที่สุดมีมูลค่าประมาณ 171,900-234,900 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์
นอกจากนี้ยังมีความเสียหายในภาคการเกษตร มูลค่า 37,100-46,000 ล้านบาท และภาคบริการและอื่นๆ รวม 33,200-49,900 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายของรัฐในการเยียวยาผู้ประสบภัย และการใช้จ่ายลงทุนเพื่อบูรณะอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และสาธารณูปโภค รวมถึงการเสริมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมสำหรับช่วงฤดูกาลหน้า ทั้งให้ส่วนของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ประกอบกับฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในไตรมาสสุดท้าย
ของปีนี้ น่าจะเป็นแรงหนุนที่เข้ามาชดเชยกันได้ในระดับหนึ่ง