นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยว่า ทาง รฟม.ได้ปิดจุดเสี่ยงที่น้ำอาจไหล หรือรั่วซึม เข้าไปยังอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 70 จุด จากจุดเสี่ยงทั้งหมดประมาณ 140 จุด โดยยืนยันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ เนื่องจากหากน้ำหลาก หรือเพิ่มระดับในช่วงกลางคืน อาจทำให้การป้องกันสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทำได้ไม่ทั่วถึง จึงต้องดำเนินการไว้ล่วงหน้า
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังเปิดให้บริการประชาชนตามปกติ สำหรับจุดเสี่ยงเฝ้าระวังอยู่บนถนนสายหลัก อาทิ ถนนรัชดาภิเษก พหลโยธิน สุขุมวิท และอโศก โดยยึดเกณฑ์ระดับน้ำที่ใกล้เคียงกับเหตุอุทกภัยเมื่อปี 2549 ซึ่งหากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นที่ในระดับ 50 เซนติเมตร จากขอบทางเดินเท้า รฟม. จะมีการพิจารณาเร่งด่วนในการปิดทางขึ้นลงทั้งหมด แต่ยังคงเดินรถต่อไป เนื่องจากคาดการณ์ว่า น้ำคงไม่ท่วมสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 18 แห่ง แต่หากกรณีที่สถานการณ์วิกฤติหนักอาจต้องมีการหยุดเดินรถซึ่งจะมีการแจ้งให้ประชาชนทราบอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังเปิดให้บริการประชาชนตามปกติ สำหรับจุดเสี่ยงเฝ้าระวังอยู่บนถนนสายหลัก อาทิ ถนนรัชดาภิเษก พหลโยธิน สุขุมวิท และอโศก โดยยึดเกณฑ์ระดับน้ำที่ใกล้เคียงกับเหตุอุทกภัยเมื่อปี 2549 ซึ่งหากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นที่ในระดับ 50 เซนติเมตร จากขอบทางเดินเท้า รฟม. จะมีการพิจารณาเร่งด่วนในการปิดทางขึ้นลงทั้งหมด แต่ยังคงเดินรถต่อไป เนื่องจากคาดการณ์ว่า น้ำคงไม่ท่วมสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 18 แห่ง แต่หากกรณีที่สถานการณ์วิกฤติหนักอาจต้องมีการหยุดเดินรถซึ่งจะมีการแจ้งให้ประชาชนทราบอีกครั้ง