นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันพรุ่งนี้รัฐมนตรีช่วยคมนาคมจะเป็นประธานสรุปการพัฒนารถไฟความเร็วสูง โดยมีผู้บริหาร รฟท.และสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเข้าร่วม ซึ่งจะนำผลที่บริษัทที่ปรึกษาจัดทำไว้เข้ามาพิจารณารายละเอียด กำหนดกรอบหลายประเด็น เช่น การพัฒนารถไฟความเร็วสูง โดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ ซึ่งคมนาคมกำหนดกรอบให้พัฒนารางขนาดดังกล่าวจะต้องรองรับรถไฟความเร็วสูงบรรทุกทั้งผู้คนและผู้โดยสาร และสินค้า ซึ่งเบื้องต้นเห็นว่า สามารถดำเนินการได้
นอกจากนี้ ที่ประชุมวันพรุ่งนี้จะพิจารณาว่า การก่อสร้างงานดังกล่าวจะปรับปรุงรางจากขนาดเดิม 1 เมตร หรือมิเตอร์เกจ หรือจะมีการพัฒนารางที่ 3 เป็นสแตนดาร์ดเกจตลอดเส้นทาง ซึ่งจะเร่งรัดทำทันที 5 เส้นทาง ประกอบด้วยกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ กรุงเทพฯ-ระยอง โดยเส้นทางแรกที่จะเร่งดำเนินการทันทีคือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งรูปแบบลงทุนที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ ภาครัฐก่อสร้างรางหรือโครงสร้างพื้นฐานเอง และดึงเอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ ซึ่งจะเป็นรูปแบบร่วมลงทุน หรือสัมปทานเดินรถต้องหารือกันอีกดครั้ง
ส่วนอัตราค่าโดยสารตามผลศึกษานั้น ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง เช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเก็บคนละ 1,000 บาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ขณะที่เงินลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น หากภาครัฐสร้างรางเองจะมีค่าใช้จ่ายกิโลเมตรละ 800-1,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมวันพรุ่งนี้จะพิจารณาว่า การก่อสร้างงานดังกล่าวจะปรับปรุงรางจากขนาดเดิม 1 เมตร หรือมิเตอร์เกจ หรือจะมีการพัฒนารางที่ 3 เป็นสแตนดาร์ดเกจตลอดเส้นทาง ซึ่งจะเร่งรัดทำทันที 5 เส้นทาง ประกอบด้วยกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ กรุงเทพฯ-ระยอง โดยเส้นทางแรกที่จะเร่งดำเนินการทันทีคือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งรูปแบบลงทุนที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ ภาครัฐก่อสร้างรางหรือโครงสร้างพื้นฐานเอง และดึงเอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ ซึ่งจะเป็นรูปแบบร่วมลงทุน หรือสัมปทานเดินรถต้องหารือกันอีกดครั้ง
ส่วนอัตราค่าโดยสารตามผลศึกษานั้น ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง เช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเก็บคนละ 1,000 บาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ขณะที่เงินลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น หากภาครัฐสร้างรางเองจะมีค่าใช้จ่ายกิโลเมตรละ 800-1,000 ล้านบาท