บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทอ่อนค่าทดสอบระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่แข็งค่าขึ้นในช่วงสั้นๆ ก่อนการประชุมกนง. ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาค แรงขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ และความต้องการเงินดอลลาร์ฯ ของกลุ่มผู้นำเข้า ขณะที่ แรงขายสินทรัพย์เสี่ยงและซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ของนักลงทุนทั่วโลก ก่อนการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานเฟดช่วงท้ายสัปดาห์ (ซึ่งตลาดมองว่า อาจไม่มีการส่งสัญญาณถึงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบใหม่) ก็เป็นปัจจัยที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงเช่นกัน
ในวันศุกร์ (26 ส.ค.) เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ 29.97 จากระดับ 29.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 ส.ค.) สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (29 ส.ค.-2 ก.ย. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตารายงานเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนก.ค. และอัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค.ของไทย ตลอดจนการปรับตัวของตลาดการเงินหลังสุนทรพจน์ของประธานเฟด และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขตลาดแรงงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนี ISM ภาคการผลิต ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโกเดือนส.ค. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายจ่ายด้านการก่อสร้าง รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐานเดือนก.ค. ราคาบ้านเดือนมิ.ย. ข้อมูลประสิทธิภาพการผลิต ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย (ทบทวน) ประจำไตรมาส 2/2554 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันที่ 9 ส.ค.
ในวันศุกร์ (26 ส.ค.) เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ 29.97 จากระดับ 29.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 ส.ค.) สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (29 ส.ค.-2 ก.ย. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตารายงานเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนก.ค. และอัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค.ของไทย ตลอดจนการปรับตัวของตลาดการเงินหลังสุนทรพจน์ของประธานเฟด และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขตลาดแรงงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนี ISM ภาคการผลิต ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโกเดือนส.ค. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายจ่ายด้านการก่อสร้าง รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐานเดือนก.ค. ราคาบ้านเดือนมิ.ย. ข้อมูลประสิทธิภาพการผลิต ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย (ทบทวน) ประจำไตรมาส 2/2554 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันที่ 9 ส.ค.