บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เงินบาทอ่อนค่าลงใกล้ระดับ 30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงท้ายสัปดาห์ โดยเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขณะที่ ความหวังต่อมาตรการช่วยเหลือทางการเงินสำหรับกรีซที่ทันเวลา เป็นแรงหนุนสินทรัพย์เสี่ยง สกุลเงินเอเชีย และเงินบาท อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกทั้งหมดลง และปรับตัวอ่อนค่าตลอดจนถึงท้ายสัปดาห์ หลังจากที่แถลงการณ์หลังการประชุมเฟดไม่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า เฟดจะมีมาตรการ QE เพิ่มเติม แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยืนที่ระดับต่ำต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากความต้องการเงินดอลลาร์ฯ จากกลุ่มผู้นำเข้าในช่วงท้ายสัปดาห์อีกด้วย
ในวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ 30.65 หลังอ่อนค่าสุดระหว่างวันใกล้ 30.70 เทียบกับระดับ 30.56 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (17 มิ.ย.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (27 มิ.ย.-1 ก.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.40-30.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค. อัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของธปท. ทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดโลกที่น่าจะมีจุดสนใจอยู่ที่สัญญาณแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การพิจารณาแผนรัดเข็มขัดทางการคลังของรัฐสภากรีซ และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ดัชนี ISM ภาคการผลิต ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) เดือนพ.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย. โดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ในวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ 30.65 หลังอ่อนค่าสุดระหว่างวันใกล้ 30.70 เทียบกับระดับ 30.56 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (17 มิ.ย.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (27 มิ.ย.-1 ก.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.40-30.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค. อัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของธปท. ทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดโลกที่น่าจะมีจุดสนใจอยู่ที่สัญญาณแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การพิจารณาแผนรัดเข็มขัดทางการคลังของรัฐสภากรีซ และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ดัชนี ISM ภาคการผลิต ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) เดือนพ.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย. โดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์ และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์