บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงตามหลังทิศทางของสกุลเงินเอเชียที่เผชิญแรงเทขายไปแล้วในช่วงต้นสัปดาห์ที่ตลาดการเงินของไทยปิดทำการ โดยการอ่อนค่าของเงินบาทสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ กระแสการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุน ก็เป็นปัจจัยกระตุ้นการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นระยะๆ ด้วยเช่นกัน ในวันศุกร์ (20 พ.ค.) เงินบาทอ่อนค่ามาปิดตลาดที่ 30.27 เทียบกับระดับ 30.19 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 พ.ค.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (23-27 พ.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.00-30.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาข้อมูล GDP ของไทยประจำไตรมาส 1/2554 สถานการณ์การเมืองไทย สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของธปท. ทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่จะเชื่อมโยงกับประเด็นความกังวลเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) เดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. ตัวเลข GDP (ทบทวนครั้งที่ 2) ประจำไตรมาส 1/2554 รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (23-27 พ.ค. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 30.00-30.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาข้อมูล GDP ของไทยประจำไตรมาส 1/2554 สถานการณ์การเมืองไทย สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของธปท. ทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่จะเชื่อมโยงกับประเด็นความกังวลเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) เดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. ตัวเลข GDP (ทบทวนครั้งที่ 2) ประจำไตรมาส 1/2554 รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์