บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เงินบาทอ่อนค่าอย่างหนัก แต่ยังคงเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ท่ามกลางแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ และการลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุน ทั้งนี้ เงินบาทกลับไปอ่อนค่ากว่าระดับ 30 ในช่วงท้ายสัปดาห์ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย อนึ่ง แรงขายเงินดอลลาร์ฯ จากกลุ่มผู้ส่งออกและนักลงทุน ชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้บางส่วนเท่านั้นในระหว่างสัปดาห์
ในวันศุกร์ (6 พ.ค.) เงินบาทปิดที่ 30.22 เทียบกับระดับ 29.84 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (29 เม.ย.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (9-13 พ.ค. 2554) สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย คาดว่า เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาสถานการณ์การเมืองไทย สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของธปท. ทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดการเงินทั่วโลก รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนเม.ย.ของจีน ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจและภาคค้าส่งเดือนมี.ค. ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต งบประมาณของรัฐบาลกลางเดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ขั้นต้น) เดือนพ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ในวันศุกร์ (6 พ.ค.) เงินบาทปิดที่ 30.22 เทียบกับระดับ 29.84 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (29 เม.ย.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (9-13 พ.ค. 2554) สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย คาดว่า เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาสถานการณ์การเมืองไทย สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของธปท. ทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดการเงินทั่วโลก รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนเม.ย.ของจีน ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจและภาคค้าส่งเดือนมี.ค. ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต งบประมาณของรัฐบาลกลางเดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ขั้นต้น) เดือนพ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์