บริษัทศูนย์วิจัยกวิกรไทย ระบุว่าเงินบาทแข็งค่าทะลุระดับ 30.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย อาทิ การกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนซึ่งหนุนตลาดหุ้นและสกุลเงินในเอเชีย แรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออกไทย ตลอดจนการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของธปท.อีกด้วย อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงเล็กน้อยในช่วงท้ายสัปดาห์ท่ามกลางการปรับสมดุลของนักลงทุน
ในวันศุกร์ (22 เม.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 29.92 เทียบกับระดับ 30.12 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันอังคารก่อนหน้า (12 เม.ย.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (25-29 เม.ย. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดการเงินทั่วโลกที่อาจส่งผลหนุนสินทรัพย์และสกุลเงินในเอเชีย สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของธปท. ตลอดจนผลการประชุมนโยบายการเงินและแถลงข่าวหลังการประชุมของประธานเฟด (วันที่ 26-27 เม.ย.) ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโกเดือนเม.ย. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ยอดขายบ้านใหม่ รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐานเดือนมี.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนก.พ. โดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์ รวมถึงตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 1/2554 (Advance) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ในวันศุกร์ (22 เม.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 29.92 เทียบกับระดับ 30.12 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันอังคารก่อนหน้า (12 เม.ย.)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (25-29 เม.ย. 2554) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงของตลาดการเงินทั่วโลกที่อาจส่งผลหนุนสินทรัพย์และสกุลเงินในเอเชีย สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทของธปท. ตลอดจนผลการประชุมนโยบายการเงินและแถลงข่าวหลังการประชุมของประธานเฟด (วันที่ 26-27 เม.ย.) ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ประกอบด้วย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโกเดือนเม.ย. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ยอดขายบ้านใหม่ รายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐานเดือนมี.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนก.พ. โดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์/เคส ชิลเลอร์ รวมถึงตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 1/2554 (Advance) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์