ASTVผู้จัดการรายวัน - เงินบาทแข็งค่าแตะ 29.86 แบงก์ชาติชี้เกิดจากเงินทุนไหลเข้าทั้งภูมิภาค เผยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและยังไม่มีมาตรการพิเศษ ยันขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อคุมเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินไป แจงดอกเบี้ยคิดเป็นร้อยละ 4 ของต้นทุนรวมของภาคธุรกิจเท่านั้น
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ ซึ่งในช่วงเช้าเงินบาทแข็งค่า 29.90-29.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าไม่ใช่แค่การลงทุนในตลาดหุ้นเท่านั้น ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งภูมิภาคเอเชียเห็นได้จากค่าเงินในหลายสกุลภูมิภาคนี้ปรับตัวแข็งค่าทุบสถิติใหม่ค่อนข้างเยอะ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธปท.ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและยังคงไม่มีมาตรการอะไรพิเศษออกมาดูแลเงินทุนไหลเข้า ล่าสุดค่าเงินบาทเย็นวานนี้ (21 เม.ย.) ปิดแข็งค่าที่ระดับ 29.86 บาทต่อดอลลาร์
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 29.90 บาทต่อดอลลาร์ เป็นผลจาก ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและผู้ส่งออกยังเทขายเงินดอลลาร์ล่วงหน้า ขณะที่เงินทุนไหลเข้ายังคงต่อเนื่อง
"ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ เงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้น แต่อาจจะแข็งค่าช้าๆ ไม่แรงมาก" นักบริหารเงินกล่าว
ด้านนายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้มีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคนี้ ถือเป็นเรื่องปกติ และเงินบาทแข็งหรืออ่อนมีผลจากหลายปัจจัย ไม่ใช่แค่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่านั้น โดยตัวอย่างอย่างหนึ่ง อาทิ เมื่อใดที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในหุ้น และเมื่อมีเงินไหลเข้ามาเยอะเงินบาทก็จะแข็งค่า ทำให้นักลงทุนได้กำไรจากเงินบาทแข็งค่าด้วย
สำหรับประเด็นที่มีบางฝ่ายมองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจนั้นมองว่าอัตราดอกเบี้ยคิดเป็น 4%ของต้นทุนรวม ทำให้ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบบ้าง จึงมีการส่งสัญญาณต่อเนื่อง เพราะอัตราดอกเบี้ยกระทบด้านราคาของประชาชนทั้งประเทศ
ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นความจำเป็นที่ต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าทางการให้ความสำคัญอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งขณะนี้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ทำให้ธปท.ต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและทางการสามารถจัดการและดูแลได้ผ่านนโยบายการเงินและการดูแลสินค้าให้เป็นธรรมอยู่
“ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอาจมีผลกระทบบ้าง แต่เราจำเป็นต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้น โดยหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งก็จะส่งผลให้ผลตอบแทนระยะยาวเพิ่มขึ้นด้วย จึงอาจกระทบต่อการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวได้ ฉะนั้น การดำเนินการดังกล่าวเป็นการรักษาผลประโยชน์ในระยะยาวไว้ด้วย” นายทรงธรรมกล่าว.
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า เงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ ซึ่งในช่วงเช้าเงินบาทแข็งค่า 29.90-29.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าไม่ใช่แค่การลงทุนในตลาดหุ้นเท่านั้น ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งภูมิภาคเอเชียเห็นได้จากค่าเงินในหลายสกุลภูมิภาคนี้ปรับตัวแข็งค่าทุบสถิติใหม่ค่อนข้างเยอะ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธปท.ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและยังคงไม่มีมาตรการอะไรพิเศษออกมาดูแลเงินทุนไหลเข้า ล่าสุดค่าเงินบาทเย็นวานนี้ (21 เม.ย.) ปิดแข็งค่าที่ระดับ 29.86 บาทต่อดอลลาร์
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 29.90 บาทต่อดอลลาร์ เป็นผลจาก ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและผู้ส่งออกยังเทขายเงินดอลลาร์ล่วงหน้า ขณะที่เงินทุนไหลเข้ายังคงต่อเนื่อง
"ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ เงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้น แต่อาจจะแข็งค่าช้าๆ ไม่แรงมาก" นักบริหารเงินกล่าว
ด้านนายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้มีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคนี้ ถือเป็นเรื่องปกติ และเงินบาทแข็งหรืออ่อนมีผลจากหลายปัจจัย ไม่ใช่แค่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่านั้น โดยตัวอย่างอย่างหนึ่ง อาทิ เมื่อใดที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในหุ้น และเมื่อมีเงินไหลเข้ามาเยอะเงินบาทก็จะแข็งค่า ทำให้นักลงทุนได้กำไรจากเงินบาทแข็งค่าด้วย
สำหรับประเด็นที่มีบางฝ่ายมองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจนั้นมองว่าอัตราดอกเบี้ยคิดเป็น 4%ของต้นทุนรวม ทำให้ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบบ้าง จึงมีการส่งสัญญาณต่อเนื่อง เพราะอัตราดอกเบี้ยกระทบด้านราคาของประชาชนทั้งประเทศ
ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นความจำเป็นที่ต้องแสดงให้ประชาชนเห็นว่าทางการให้ความสำคัญอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งขณะนี้แรงกดดันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ทำให้ธปท.ต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและทางการสามารถจัดการและดูแลได้ผ่านนโยบายการเงินและการดูแลสินค้าให้เป็นธรรมอยู่
“ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอาจมีผลกระทบบ้าง แต่เราจำเป็นต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้น โดยหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งก็จะส่งผลให้ผลตอบแทนระยะยาวเพิ่มขึ้นด้วย จึงอาจกระทบต่อการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวได้ ฉะนั้น การดำเนินการดังกล่าวเป็นการรักษาผลประโยชน์ในระยะยาวไว้ด้วย” นายทรงธรรมกล่าว.