นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการวิเคราะห์เรื่อง "ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม สู้หรือเลิกในตลาดอาเซียน" พบว่า ส่วนแบ่งตลาดน้ำมันปาล์มในอาเซียนและตลาดโลกของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือมีส่วนแบ่งในอาเซียนเพียงร้อยละ 2.2 และร้อยละ 0.4 ในตลาดโลก ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดสำคัญยังเป็นของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันมีต้นทุนการเพาะปลูกถูกกว่าไทยเกือบ 4 เท่า หรือไทยมีต้นทุนไร่ละ 9,895 บาท แต่มาเลเซียมีต้นทุนผลิตเพียงไร่ละ 2,560 บาท
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของไทยเกิดจากพันธุ์ปาล์มไม่มีคุณภาพ เกษตรกรไม่มีอำนาจต่อรอง พื้นที่เพาะปลูกไม่เหมาะสมและต้นทุนการผลิตสูง รวมถึงไม่มีหน่วยงานหลักในการดูแล ขาดความรู้ ข้อมูล บริหารสต๊อกไม่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญยุทธศาสตร์ล้มเหลว โดยเฉพาะแผนการขยายพื้นที่เพาะปลูกและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่
นายอัทธ์ กล่าวอีกว่า ไทยต้องเร่งปฏิรูปและแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะมีการนำน้ำมันปาล์มจำนวนมากมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน เนื่องจากราคาถูกกว่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรในประเทศ ดังนั้น ไทยจึงต้องเร่งพัฒนาสายพันธุ์ให้มีผลผลิตสูงและต้องลดต้นทุนการผลิตต่อไร่ลง ควบคุมการขยายพื้นที่ให้เหมาะสม และให้ตั้งสถาบันนโยบายและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งชาติ ในรูปแบบองค์กรมหาชน รวมถึงต้องบริหารจัดการสต๊อกน้ำมันปาล์มให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการบริโภคและพลังงานทดแทน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าสินค้าที่น่าเป็นห่วงหลังการรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ ข้าว กาแฟ และปาล์มน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของไทยเกิดจากพันธุ์ปาล์มไม่มีคุณภาพ เกษตรกรไม่มีอำนาจต่อรอง พื้นที่เพาะปลูกไม่เหมาะสมและต้นทุนการผลิตสูง รวมถึงไม่มีหน่วยงานหลักในการดูแล ขาดความรู้ ข้อมูล บริหารสต๊อกไม่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญยุทธศาสตร์ล้มเหลว โดยเฉพาะแผนการขยายพื้นที่เพาะปลูกและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่
นายอัทธ์ กล่าวอีกว่า ไทยต้องเร่งปฏิรูปและแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะมีการนำน้ำมันปาล์มจำนวนมากมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน เนื่องจากราคาถูกกว่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรในประเทศ ดังนั้น ไทยจึงต้องเร่งพัฒนาสายพันธุ์ให้มีผลผลิตสูงและต้องลดต้นทุนการผลิตต่อไร่ลง ควบคุมการขยายพื้นที่ให้เหมาะสม และให้ตั้งสถาบันนโยบายและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มแห่งชาติ ในรูปแบบองค์กรมหาชน รวมถึงต้องบริหารจัดการสต๊อกน้ำมันปาล์มให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการบริโภคและพลังงานทดแทน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าสินค้าที่น่าเป็นห่วงหลังการรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ ข้าว กาแฟ และปาล์มน้ำมัน