คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการ เนื่องในวันรพี 54 เรื่อง "นิรโทกรรม : ทางออกหรือทางตัน" โดยเห็นว่าขณะนี้ยังไม่ควรที่จะมีการนิรโทษกรรม เพราะยังไม่มีอะไรเป็นสิ่งยืนยันว่าทำไปแล้วจะเกิดความปรองดอง แต่ควรจัดลำดับความสำคัญของประเทศ อาทิ แก้ปัญหาของประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจก่อน จากนั้นจึงให้คณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ดูแลเรื่องความปรองดองสรุปผลจึงค่อยมาหารือกัน
ขณะที่รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง เกิดขึ้นจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางในนามนายกรัฐมนตรี ไปยังสิงคโปร์ แต่กลับขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งเป็นหุ้นที่ไม่เสียภาษี และเป็นหุ้นส่วนตัว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทั้งหมด และหากมีการนิรโทษกรรม ควรดำเนินการเฉพาะผู้ที่ไม่รู้เรื่อง แต่ได้รับผลกระทบจากความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นจนต้องติดคุก ส่วนผู้ที่ยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกหรือขัดแย้ง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำเกินหน้าที่ในกรณีการสลายการชุมนุม ไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรม
ขณะที่รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง เกิดขึ้นจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางในนามนายกรัฐมนตรี ไปยังสิงคโปร์ แต่กลับขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งเป็นหุ้นที่ไม่เสียภาษี และเป็นหุ้นส่วนตัว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทั้งหมด และหากมีการนิรโทษกรรม ควรดำเนินการเฉพาะผู้ที่ไม่รู้เรื่อง แต่ได้รับผลกระทบจากความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นจนต้องติดคุก ส่วนผู้ที่ยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกหรือขัดแย้ง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำเกินหน้าที่ในกรณีการสลายการชุมนุม ไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรม