นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบจากพายุนกเต็น ว่าได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน ตามคำเตือนกรมอุตุนิยมวิทยา โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก เตรียมแผนรองรับ 4 แผนหลัก ประกอบด้วย แผนเตรียมความพร้อมเพื่อการป้องกันน้ำท่วมอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ เช่น การเตรียมกั้นกระสอบทราย การขนย้ายเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์อื่นๆ ไปไว้ในจุดที่ปลอดภัย แผนสำรองทรัพยากรต่างๆ ที่มีความจำเป็นหากเกิดน้ำท่วม เช่น ออกซิเจน เพื่อใช้ในผู้ป่วยหนักที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือใช้ในห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด แผนเตรียมความพร้อมการอพยพผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินหากมีน้ำท่วมอาคารบริการ และแผนเตรียมความพร้อมการให้บริการนอกสถานที่ตามความจำเป็น เช่น การให้บริการภาคสนาม การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ให้พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ต้องติดตามสถานการณ์ และการพยากรณ์อากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา อย่างใกล้ชิด และให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมหากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือด้านการแพทย์ได้ที่หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ต้องติดตามสถานการณ์ และการพยากรณ์อากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา อย่างใกล้ชิด และให้หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมหากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทรแจ้งขอความช่วยเหลือด้านการแพทย์ได้ที่หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง