“จุรินทร์” สั่งการให้โรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมเตรียมแผนรับมือ 4 แผน คือ การป้องกัน สำรองทรัพยากร การอพยพผู้ป่วยและการบริการภาคสนาม
วันนี้ (27 มีนาคม 2554) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมที่ภาคใต้ว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 แห่ง คือโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ขณะนี้กู้ได้เรียบร้อยแล้ว สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ ส่วนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลท่าศาลา ขณะนี้น้ำท่วมทั้งโรงพยาบาล ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ผู้ป่วยทั้งหมดย้ายไปที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 23 คน และโรงพยาบาลสิชล จำนวน 20 คน และในวันพรุ่งนี้ (28 มีนาคม 2554) สั่งการให้เปิดจุดบริการนอกโรงพยาบาล เป็นโรงพยาบาลสนามแทนชั่วคราว
ในส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) น้ำท่วมจำนวน 8 แห่ง ที่ จ.ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เสียหายไม่มาก ทั้งหมดท่วมเฉพาะชั้นล่าง ในส่วนค่าเสียหายขณะนี้ยังประเมินไม่ได้
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชน รวมทั้งให้ทุกโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยง เตรียมแผนรองรับไว้ 4 แผน ดังนี้ 1.แผนเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกัน เช่น การเตรียมกั้นกระสอบทราย การขนย้ายเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์อื่นๆ ไปไว้ในจุดที่ปลอดภัย 2.แผนสำรองทรัพยากรต่างๆ ที่มีความจำเป็นหากเกิดภาวะน้ำท่วม 3.แผนเตรียมความพร้อมการอพยพผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน และ4.แผนเตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการนอกสถานที่ตามความจำเป็น คือการให้บริการภาคสนาม
วันนี้ (27 มีนาคม 2554) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมที่ภาคใต้ว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 แห่ง คือโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ขณะนี้กู้ได้เรียบร้อยแล้ว สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ ส่วนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลท่าศาลา ขณะนี้น้ำท่วมทั้งโรงพยาบาล ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ผู้ป่วยทั้งหมดย้ายไปที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 23 คน และโรงพยาบาลสิชล จำนวน 20 คน และในวันพรุ่งนี้ (28 มีนาคม 2554) สั่งการให้เปิดจุดบริการนอกโรงพยาบาล เป็นโรงพยาบาลสนามแทนชั่วคราว
ในส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) น้ำท่วมจำนวน 8 แห่ง ที่ จ.ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เสียหายไม่มาก ทั้งหมดท่วมเฉพาะชั้นล่าง ในส่วนค่าเสียหายขณะนี้ยังประเมินไม่ได้
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชน รวมทั้งให้ทุกโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยง เตรียมแผนรองรับไว้ 4 แผน ดังนี้ 1.แผนเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกัน เช่น การเตรียมกั้นกระสอบทราย การขนย้ายเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์อื่นๆ ไปไว้ในจุดที่ปลอดภัย 2.แผนสำรองทรัพยากรต่างๆ ที่มีความจำเป็นหากเกิดภาวะน้ำท่วม 3.แผนเตรียมความพร้อมการอพยพผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน และ4.แผนเตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการนอกสถานที่ตามความจำเป็น คือการให้บริการภาคสนาม