นายศิลป์ชัย ชำนิเขตรการณ์ คณะทำงานการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยชนบท ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า เครือข่ายองค์กรชุมชนร่วมกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยชนบท 16 จังหวัด พื้นที่ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันตก ร่วมกันขับเคลื่อนการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 26 ตำบล ร่วมกับท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานสนับสนุน และภาคีพัฒนา โดยองค์กรชุมชนเป็นหลัก เพื่อสร้างรูปธรรมการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนโดยการบริหารจัดการของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งพื้นที่ ต. ปิล๊อก ทั้ง 4 หมู่บ้าน เกิดปัญหาที่ดินฯมานานแล้ว และมีกลไกสนับสนุนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาโดยองค์กรชุมชนและท้องถิ่น เป็นความร่วมมือหลายฝ่ายทั้งท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยราชการ ธุรกิจ และสถาบันวิชาการในพื้นที่
นายสุชาติ นิลเมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ในพื้นที่คือชาวบ้านส่วนใหญ่อาศัยในที่ดินเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลมและทองผาภูมิ บางส่วนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ภายหลังองค์กรชุมชนขับเคลื่อนงานเป็นขบวนร่วมกันทั้ง 4 หมู่บ้าน มีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลชุมชนที่แสดงถึงขอบเขตการถือครองรายบุคคล ระยะเวลาในการอยู่อาศัย ประเภทที่ดิน และทำแผนที่ทำมือที่ผ่านการจับพิกัดระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) พร้อมกับวางกติการ่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อความเข้าใจกับชุมชน นำมาสู่การกันแนวเขตป่ากับพื้นที่อยู่อาศัยและกติกาการอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่บุกรุกเพิ่ม เกิดกองทุนที่ดินที่ชาวบ้านร่วมกันลงขันเพื่อดูแลรักษาทรัพยากรในพื้นที่ จนถึงวันนี้ตำบลปิล๊อกได้นำกองทุนที่ดินไปใช้พัฒนาชุมชนอย่างมีคุณภาพ มีการวางระบบน้ำ จัดสวัสดิการ ฯลฯ กลายเป็น 1 ใน 11 พื้นที่ของประเทศ ที่จะใช้เป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ไกลกว่าแค่เอกสารสิทธิ์
น.ส.กนิษฐา ปรีชาพีชคุปต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กล่าวว่า ประวัติศาสตร์การแก้ไขปัญหาที่ดินมีมายาวนาน แต่สิ่งที่พบคือ ในวิธีแก้ปัญหานั้นมีช่องว่าง เนื่องจากชุมชนขาดข้อมูลเชิงลึกที่จะสนับสนุนวิธีคิดของตนเองต่อหน่วยงาน ดังนั้น ชุมชนต้องบอกปัญหารู้ให้กันอย่างละเอียดว่าที่ดินที่ครอบครองมีปัญหาอะไร ขอบเขตเท่าไร จัดการอย่างไร ต้องคิดและเสนอไปด้วยกัน ไม่ใช่เสนออย่างเดียวแล้วรอ
นอกจากนี้ เครื่องมือที่สำคัญมากคือการมีกองทุน เพราะเป็นเครื่องแสดงเจตนาว่าชุมชนมีความพร้อม ต้องการแก้ไขปัญหาของชุมชน และหากสังเกตจะพบว่าชุมชนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักใช้กองทุนเป็นเครื่องมือ ทำให้คนรวมตัวกันและสื่อสารไปยังคนภายนอกว่าชุมชนไม่ได้เป็นผู้ร้องขอ แต่เป็นผู้ที่พร้อมที่จะพัฒนา ชุมชนต้องลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหา พัฒนาจากจุดเล็กไปสู่จุดใหญ่ นำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยด้วยพลังองค์กรชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง
นายสุชาติ นิลเมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ในพื้นที่คือชาวบ้านส่วนใหญ่อาศัยในที่ดินเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลมและทองผาภูมิ บางส่วนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ภายหลังองค์กรชุมชนขับเคลื่อนงานเป็นขบวนร่วมกันทั้ง 4 หมู่บ้าน มีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลชุมชนที่แสดงถึงขอบเขตการถือครองรายบุคคล ระยะเวลาในการอยู่อาศัย ประเภทที่ดิน และทำแผนที่ทำมือที่ผ่านการจับพิกัดระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) พร้อมกับวางกติการ่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อความเข้าใจกับชุมชน นำมาสู่การกันแนวเขตป่ากับพื้นที่อยู่อาศัยและกติกาการอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่บุกรุกเพิ่ม เกิดกองทุนที่ดินที่ชาวบ้านร่วมกันลงขันเพื่อดูแลรักษาทรัพยากรในพื้นที่ จนถึงวันนี้ตำบลปิล๊อกได้นำกองทุนที่ดินไปใช้พัฒนาชุมชนอย่างมีคุณภาพ มีการวางระบบน้ำ จัดสวัสดิการ ฯลฯ กลายเป็น 1 ใน 11 พื้นที่ของประเทศ ที่จะใช้เป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ไกลกว่าแค่เอกสารสิทธิ์
น.ส.กนิษฐา ปรีชาพีชคุปต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กล่าวว่า ประวัติศาสตร์การแก้ไขปัญหาที่ดินมีมายาวนาน แต่สิ่งที่พบคือ ในวิธีแก้ปัญหานั้นมีช่องว่าง เนื่องจากชุมชนขาดข้อมูลเชิงลึกที่จะสนับสนุนวิธีคิดของตนเองต่อหน่วยงาน ดังนั้น ชุมชนต้องบอกปัญหารู้ให้กันอย่างละเอียดว่าที่ดินที่ครอบครองมีปัญหาอะไร ขอบเขตเท่าไร จัดการอย่างไร ต้องคิดและเสนอไปด้วยกัน ไม่ใช่เสนออย่างเดียวแล้วรอ
นอกจากนี้ เครื่องมือที่สำคัญมากคือการมีกองทุน เพราะเป็นเครื่องแสดงเจตนาว่าชุมชนมีความพร้อม ต้องการแก้ไขปัญหาของชุมชน และหากสังเกตจะพบว่าชุมชนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักใช้กองทุนเป็นเครื่องมือ ทำให้คนรวมตัวกันและสื่อสารไปยังคนภายนอกว่าชุมชนไม่ได้เป็นผู้ร้องขอ แต่เป็นผู้ที่พร้อมที่จะพัฒนา ชุมชนต้องลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหา พัฒนาจากจุดเล็กไปสู่จุดใหญ่ นำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยด้วยพลังองค์กรชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง