นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงความคืบหน้าสถานการณ์เรือบรรทุกน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า ล่าสุดปริมาณน้ำเสียได้ไหลมาถึงพื้นที่สะพานกรุงเทพฯ แล้ว คาดว่าอีกไม่นานปริมาณน้ำเสียจะไหลลงสู่ทะเล ปัญหาที่เกิดขี้นส่งผลให้ปลาในแม่น้ำเจ้าพระยาตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้กรมชลประทานได้ปิดประตูเขื่อนเจ้าพระยาลดการปล่อยปริมาณน้ำจาก 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เหลือ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อป้องกันกระแสน้ำเชี่ยว และอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่นักประดาน้ำลงไปดำเนินการอุดปะเรือได้ คาดว่าในช่วง 3-4 วันนี้ จะสามารถกู้เรือขึ้นมาได้
นอกจากนี้ กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำภายหลังเกิดเหตุ พบว่า คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับผลกระทบและเสื่อมโทรมลง ระดับออกซิเจนในน้ำเหลือร้อยละ 0.1 ตลอดสายทางที่น้ำไหลผ่านส่งผลต่อกระชังปลา และแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาตามหน้าวัดต่างๆ ซึ่งปลาบางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ได้ ดังนั้น หากประชาชนพบเห็นปลาลอยขึ้นมาเนื่องจากการขาดออกซิเจนควรช่วยกันนำมาอนุบาลและจากนั้นอีก 1-2 วัน จึงปล่อยกลับลงสู่แม่น้ำ เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
ส่วนบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำประสบปัญหาตลิ่งพังกว่า 10 เมตรนั้น กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการทำพนังกั้นน้ำโดยใช้กระสอบทราย อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ทางกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการออกฎระเบียบในการกำหนดขนาดของเรือในการบรรทุกสินค้าและเรือลากจูง
นอกจากนี้ กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำภายหลังเกิดเหตุ พบว่า คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับผลกระทบและเสื่อมโทรมลง ระดับออกซิเจนในน้ำเหลือร้อยละ 0.1 ตลอดสายทางที่น้ำไหลผ่านส่งผลต่อกระชังปลา และแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาตามหน้าวัดต่างๆ ซึ่งปลาบางชนิดอาจจะสูญพันธุ์ได้ ดังนั้น หากประชาชนพบเห็นปลาลอยขึ้นมาเนื่องจากการขาดออกซิเจนควรช่วยกันนำมาอนุบาลและจากนั้นอีก 1-2 วัน จึงปล่อยกลับลงสู่แม่น้ำ เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
ส่วนบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำประสบปัญหาตลิ่งพังกว่า 10 เมตรนั้น กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการทำพนังกั้นน้ำโดยใช้กระสอบทราย อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ทางกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการออกฎระเบียบในการกำหนดขนาดของเรือในการบรรทุกสินค้าและเรือลากจูง