สื่อต่างประเทศ รายงานว่า ศาลระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เริ่มรับฟังการชี้แจงปัญหาพิพาทชายแดนไทย - กัมพูชา ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นคำร้องให้ศาลโลก มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อยับยั้งการปะทะกันของทั้ง 2 ฝ่าย ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากปี 2008 เป็นต้นมา โดย นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ขึ้นเบิกความเป็นคนแรก ก่อนตามด้วยทนายชาวฝรั่งเศส และอังกฤษ
รายงานของสื่อต่างประเทศ ระบุว่า นายฮอร์ นัมฮง ยืนยันในศาลว่า ศาลโลกจะต้องมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในทันที เพื่อป้องกันการปะทะกันอีก เพราะมีการปะทะกันมาอย่างน้อย 4 ครั้ง และทุกครั้งประชาชนกัมพูชา ได้รับความเดือดร้อน และเสียหายจำนวนมาก ตลอดจนเพื่อสั่งการให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ในทันที
ในการเบิกความขอ นายฮอร์ นัมฮง ระบุว่า เมื่อปี ค.ศ.1962 ศาลโลกเคยตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหาร เป็นของกัมพูชาไปแล้ว โดยยึดแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่กัมพูชายึดถือ ซึ่งหมายรวมถึงพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่ไทยอ้างว่าเป็นอาณาเขตของประเทศไทย และมีการทำแผนที่ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการทำขึ้นมาเพียงฝ่ายเดียว จึงได้ร้องต่อศาล เมื่อเดือนก่อน ให้มีการตีความใหม่ และตัดสินเพื่อให้เกิดสันติภาพในภูมิภาค
หลังจากนั้น ทนายความชาวฝรั่งเศสของกัมพูชา ขึ้นเบิกความ และพยายามยืนยันถึงคำตัดสินของศาลโลก เมื่อปี 1962 ว่า ศาลโลกได้ตัดสินอย่างละเอียดแล้ว ว่า พื้นที่โดยรอบเป็นของกัมพูชา ด้วยตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่มีการยึดถือและใช้เป็นหลักฐานในการตัดสินเมื่อครั้งก่อน
รายงานของสื่อต่างประเทศ ระบุว่า นายฮอร์ นัมฮง ยืนยันในศาลว่า ศาลโลกจะต้องมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในทันที เพื่อป้องกันการปะทะกันอีก เพราะมีการปะทะกันมาอย่างน้อย 4 ครั้ง และทุกครั้งประชาชนกัมพูชา ได้รับความเดือดร้อน และเสียหายจำนวนมาก ตลอดจนเพื่อสั่งการให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ในทันที
ในการเบิกความขอ นายฮอร์ นัมฮง ระบุว่า เมื่อปี ค.ศ.1962 ศาลโลกเคยตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหาร เป็นของกัมพูชาไปแล้ว โดยยึดแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่กัมพูชายึดถือ ซึ่งหมายรวมถึงพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่ไทยอ้างว่าเป็นอาณาเขตของประเทศไทย และมีการทำแผนที่ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการทำขึ้นมาเพียงฝ่ายเดียว จึงได้ร้องต่อศาล เมื่อเดือนก่อน ให้มีการตีความใหม่ และตัดสินเพื่อให้เกิดสันติภาพในภูมิภาค
หลังจากนั้น ทนายความชาวฝรั่งเศสของกัมพูชา ขึ้นเบิกความ และพยายามยืนยันถึงคำตัดสินของศาลโลก เมื่อปี 1962 ว่า ศาลโลกได้ตัดสินอย่างละเอียดแล้ว ว่า พื้นที่โดยรอบเป็นของกัมพูชา ด้วยตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ที่มีการยึดถือและใช้เป็นหลักฐานในการตัดสินเมื่อครั้งก่อน