นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า สรท.ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินสถานการณ์การส่งออกเดือนเมษายนปีนี้พบว่า ยังเติบโตประมาณร้อยละ 10 โดยเฉพาะ 14 สินค้าอาหาร เช่น ข้าว อาหาร และผัก ซึ่งเป็นผลจากการปรับราคาขายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม หลายกลุ่มสินค้ากลับมีมูลค่าต่ำกว่าดัชนีฐานในปี 2551 เช่น อาหารทะเลแช่เข็ง รองเท้า และเฟอร์นิเจอร์ โดยเชื่อว่าเป้าหมายการขยายตัวการส่งออกที่ตั้งไว้ทั้งปีที่ร้อยละ 15 เป็นไปได้
นายไพบูลย์ กล่าวถึงกรณีอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนยอมรับว่า ยังเป็นปัญหาในภาพรวม นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาการแออัดของท่าเรือกรุงเทพ ที่ส่งผลให้เจ้าของเรือเก็บค่าธรรมเนียมอีก 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขนาดตู้ 20 ฟุต และ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตู้ขนาด 40 ฟุต จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้ส่งออกต้องการให้รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ไข รวมถึงกำหนดนโยบายทางการค้า และการต่างประเทศ ที่บูรณาการระหว่างกระทรวงต่างๆ มีการวางแผนยุทธศาสตร์ทางการค้าอย่างชัดเจน อาทิ การมุ่งเป้าหมายให้ผู้ประกอบการสามารถก้าวไปสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน 3 ปีข้างหน้า โดยการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ และการยกเว้นภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้กลับเข้าสู่ประเทศ
นายไพบูลย์ กล่าวถึงกรณีอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนยอมรับว่า ยังเป็นปัญหาในภาพรวม นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน รวมถึงปัญหาการแออัดของท่าเรือกรุงเทพ ที่ส่งผลให้เจ้าของเรือเก็บค่าธรรมเนียมอีก 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขนาดตู้ 20 ฟุต และ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตู้ขนาด 40 ฟุต จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้ส่งออกต้องการให้รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ไข รวมถึงกำหนดนโยบายทางการค้า และการต่างประเทศ ที่บูรณาการระหว่างกระทรวงต่างๆ มีการวางแผนยุทธศาสตร์ทางการค้าอย่างชัดเจน อาทิ การมุ่งเป้าหมายให้ผู้ประกอบการสามารถก้าวไปสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน 3 ปีข้างหน้า โดยการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ และการยกเว้นภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้กลับเข้าสู่ประเทศ