งานศึกษาใหม่พบสารเคมีชะลอการติดไฟในผลิตภัณฑ์สำหรับทารก ซึ่งรวมถึงเบาะนั่งในรถ เป้อุ้มเด็ก และเบาะรองสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม อาจมีสารก่อมะเร็ง
สำนักข่าวซีบีเอส นิวส์รายงานการวิจัยที่เผยแพร่อยู่ในเอนไวรอนเทนทัล ไซนส์ แอนด์ เทคโนโลยี ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยดุคในสหรัฐฯ โดยศึกษาจากผลิตภัณฑ์สำหรับทารก 101 รายการ เน้นที่แผ่นโฟมที่อยู่ในเบาะนั่งสำหรับทารกในรถยนต์และเบาะรองสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม แต่ครอบคลุมที่นอนเอียงรูปลิ่ม หมอนพกพา เก้าอี้โยก เก้าอี้หัดเดิน เบาะอาบน้ำ และรถเข็นเด็กด้วย
ทีมนักวิจัยที่นำโดยดร.ฮีเธอร์ สเตเปิลตัน พบว่าผลิตภัณฑ์ 5 รายการมีสารเพนตาที่ถูกแบนใน 8 รัฐเนื่องจากเป็นพิษต่อระบบประสาท, 9 รายการมีสาร TCEP ที่แคลิฟอร์เนียระบุว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ในปริมาณเล็กน้อย, 36 รายการมีสาร tris ที่ฆ่าเชื้อด้วยคลอไรด์ ซึ่งคณะกรรมการความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคระบุว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็ง
ดร.ลินดา เบิร์นโบม ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่า งานศึกษาฉบับนี้ควรเป็นสัญญาณเตือนภัย เนื่องจากเป็นที่รู้ว่าสารชะลอการติดไฟสามารถแพร่กระจายจากโฟมสู่อากาศได้
i
สำนักข่าวซีบีเอส นิวส์รายงานการวิจัยที่เผยแพร่อยู่ในเอนไวรอนเทนทัล ไซนส์ แอนด์ เทคโนโลยี ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยดุคในสหรัฐฯ โดยศึกษาจากผลิตภัณฑ์สำหรับทารก 101 รายการ เน้นที่แผ่นโฟมที่อยู่ในเบาะนั่งสำหรับทารกในรถยนต์และเบาะรองสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม แต่ครอบคลุมที่นอนเอียงรูปลิ่ม หมอนพกพา เก้าอี้โยก เก้าอี้หัดเดิน เบาะอาบน้ำ และรถเข็นเด็กด้วย
ทีมนักวิจัยที่นำโดยดร.ฮีเธอร์ สเตเปิลตัน พบว่าผลิตภัณฑ์ 5 รายการมีสารเพนตาที่ถูกแบนใน 8 รัฐเนื่องจากเป็นพิษต่อระบบประสาท, 9 รายการมีสาร TCEP ที่แคลิฟอร์เนียระบุว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ในปริมาณเล็กน้อย, 36 รายการมีสาร tris ที่ฆ่าเชื้อด้วยคลอไรด์ ซึ่งคณะกรรมการความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคระบุว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็ง
ดร.ลินดา เบิร์นโบม ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่า งานศึกษาฉบับนี้ควรเป็นสัญญาณเตือนภัย เนื่องจากเป็นที่รู้ว่าสารชะลอการติดไฟสามารถแพร่กระจายจากโฟมสู่อากาศได้
i