รัฐมนตรีคลังของประเทศสมาชิกกลุ่มยูโรโซน เอ่ยปากเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ (16) ที่ผ่านมาว่า จะพิจารณาที่จะขอต่อเจ้าหนี้ของประเทศกรีก ที่เป็นภาคเอกชน ให้ยืดกำหนดไถ่ถอนพันธบัตร เพื่อให้ทางการเอเธนส์มีเวลาหายใจหายคอเพิ่มอีกสักหน่อยในอันที่จะบริหารจัดการหนี้อันมหาศาลเหล่านี้
นอกจากนั้น ในการประชุม ณ กรุงบรัสเซลส์ ซึ่งใครต่อใครยังอึ้งๆ กับข่าวการจับกุมนายโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา พวกรมว.คลังยูโรโซนยังได้อนุมัติมาตรการโอบอุ้มโปรตุเกส กับจะหนุนให้รมว.คลังอิตาเลียน นายมาริโอ ดรากี ได้เป็นประธานธนาคารกลางยุโรปสมัยหน้า
เนื่องจากคาห์นไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ที่ประชุมในกรุงบรัสเซลส์จึงพลอยเดือดร้อนไปด้วย เพราะต้องมีการพิจารณาแผนใหม่ให้แก่กรีซ ซึ่งตะเกียกตะกายอย่างหนักในอันที่จะลุ้นรับความช่วยเหลือในแพ็กเก็จอียู/ไอเอ็มเอฟมูลค่า 110,000 ล้านยูโร ซึ่งอนุมัติกันไปเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์มากมายเชื่อว่า กรีซจะเป็นชาติแรกในบรรดายุโรปตะวันตกที่ต้องลุกขึ้นมาขอปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศ ภายหลังที่เยอรมนีเคยทำเช่นนี้ในปี 1948 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายทางการกรีซยังคงปฏิเสธที่จะใช้วิธีขอลดมูลหนี้ หรือที่เรียกว่า “แฮร์คัต” จากเจ้าหนี้ภาคเอกชนที่จะมีกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรของกรีซกันในปี 2013
นอกจากนั้น ในการประชุม ณ กรุงบรัสเซลส์ ซึ่งใครต่อใครยังอึ้งๆ กับข่าวการจับกุมนายโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา พวกรมว.คลังยูโรโซนยังได้อนุมัติมาตรการโอบอุ้มโปรตุเกส กับจะหนุนให้รมว.คลังอิตาเลียน นายมาริโอ ดรากี ได้เป็นประธานธนาคารกลางยุโรปสมัยหน้า
เนื่องจากคาห์นไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ที่ประชุมในกรุงบรัสเซลส์จึงพลอยเดือดร้อนไปด้วย เพราะต้องมีการพิจารณาแผนใหม่ให้แก่กรีซ ซึ่งตะเกียกตะกายอย่างหนักในอันที่จะลุ้นรับความช่วยเหลือในแพ็กเก็จอียู/ไอเอ็มเอฟมูลค่า 110,000 ล้านยูโร ซึ่งอนุมัติกันไปเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์มากมายเชื่อว่า กรีซจะเป็นชาติแรกในบรรดายุโรปตะวันตกที่ต้องลุกขึ้นมาขอปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศ ภายหลังที่เยอรมนีเคยทำเช่นนี้ในปี 1948 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายทางการกรีซยังคงปฏิเสธที่จะใช้วิธีขอลดมูลหนี้ หรือที่เรียกว่า “แฮร์คัต” จากเจ้าหนี้ภาคเอกชนที่จะมีกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรของกรีซกันในปี 2013