เอเจนซี - รัฐมนตรีคลังของประเทศสมาชิกกลุ่มยูโรโซน เอ่ยปากเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ (16) ที่ผ่านมาว่า จะพิจารณาที่จะขอต่อเจ้าหนี้ของประเทศกรีก ที่เป็นภาคเอกชน ให้ยืดกำหนดไถ่ถอนพันธบัตร เพื่อให้ทางการเอเธนส์มีเวลาหายใจหายคอเพิ่มอีกสักหน่อยในอันที่จะบริหารจัดการหนี้อันมหาศาลเหล่านี้
นอกจากนั้น ในการประชุม ณ กรุงบรัสเซลส์ ซึ่งใครต่อใครยังอึ้งๆ กับข่าวการจับกุมนายโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา พวกรมว.คลังยูโรโซนยังได้อนุมัติมาตรการโอบอุ้มโปรตุเกส กับจะหนุนให้รมว.คลังอิตาเลียน นายมาริโอ ดรากี ได้เป็นประธานธนาคารกลางยุโรปสมัยหน้า
ที่ผ่านมา สเตราส์-คาห์น ซึ่งได้บริหารไอเอ็มเอฟมาตั้งแต่ปี 2007 มีกำหนดจะเข้าร่วมในที่ประชุมรมว.คลัง 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน เพื่อร่วมหารือปัญหาวิกฤตหนี้ของกลุ่ม ซึ่งนับวันแต่จะทวีความสาหัส อย่างไรก็ตาม คาห์นเดินทางมาไม่ถึงกรุงบรัสเซลส์ เพราะถูกจับกุมกับนำตัวขึ้นดำเนินคดีที่ศาลแมนแฮตตัน โดยถูกบรรยายคำฟ้องว่าได้ทำการล่วงละเมิดทางเพศต่อหญิงพนักงานทำความสะอาดในโรงแรมย่านกลางเมืองแมนแฮตตัน มหานครนิวยอร์ก เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (14)
เนื่องจากคาห์นไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ที่ประชุมในกรุงบรัสเซลส์จึงพลอยเดือดร้อนไปด้วย เพราะต้องมีการพิจารณาแผนใหม่ให้แก่กรีซ ซึ่งตะเกียกตะกายอย่างหนักในอันที่จะลุ้นรับความช่วยเหลือในแพ็กเก็จอียู/ไอเอ็มเอฟมูลค่า 110,000 ล้านยูโร ซึ่งอนุมัติกันไปเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์มากมายเชื่อว่า กรีซจะเป็นชาติแรกในบรรดายุโรปตะวันตกที่ต้องลุกขึ้นมาขอปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศ ภายหลังที่เยอรมนีเคยทำเช่นนี้ในปี 1948 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายทางการกรีซยังคงปฏิเสธที่จะใช้วิธีขอลดมูลหนี้ หรือที่เรียกว่า “แฮร์คัต” จากเจ้าหนี้ภาคเอกชนที่จะมีกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรของกรีซกันในปี 2013
**ขอแค่ปรับเค้าโครง - Reprofiling**
ฌอง-คล็อด จุงก์เคอร์ แห่งลักเซมเบิร์ก ซึ่งนั่งเก้าอี้ประธานรมว.คลังแห่งยูโรโซน แถลงเปิดทางไว้ว่า ในกรณีหนี้ของกรีซนี้ อาจมีการขอให้นักลงทุนภาคเอกชนยอมยืดเวลาไถ่ถอนพันธบัตร ซึ่งถือเป็นวิธีปรับเค้าโครงภาระหนี้สินหรือ Reprofiling แทนที่จะดำเนินการเต็มรูปแบบของการปรับโครงสร้างภาระหนี้สินหรือ Restructuring
ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าทางการเอเธนส์จะกล่อมผู้คนด้วยวิธีใดเพื่อให้ภาคเอกชนยอมรับวิธีชะลอปัญหาแบบนี้ และมาตรว่าฝ่ายเอกชนผู้ถือพันธบัตรตกลงตามนั้น มันก็ยังคงเป็นเพียงการซื้อเวลา หาใช่การลดภาระหนี้องค์รวมของกรีซที่สูงถึง 330,000 ล้านยูโร
ในการนี้ จุงเคอร์ชี้ว่ายังพอมีหวังที่กรีซจะกุมสภาพปัญหาได้ หากรัฐบาลเอเธนส์ลุกขึ้นมาปฏิรูปอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการคลังปี 2011 พร้อมกับเร่งนำสินทรัพย์ของแผ่นดินออกขายเพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศ
ในเวลาเดียวกัน ทางด้านของการพิจารณามาตรช่วยเหลือโปรตุเกส ที่ประชุมให้การสนับสนุนแพ็กเก็จความช่วยเหลือมูลค่า 78,000 ล้านยูโรแก่โปรตุเกส แต่ย้ำว่าทางการลิสบอนจะต้องมีมาตรการต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ถือพันธบัตรในภาคเอกชนยอมถือตราสารหนี้นี้ไว้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้น ในการประชุม ณ กรุงบรัสเซลส์ ซึ่งใครต่อใครยังอึ้งๆ กับข่าวการจับกุมนายโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา พวกรมว.คลังยูโรโซนยังได้อนุมัติมาตรการโอบอุ้มโปรตุเกส กับจะหนุนให้รมว.คลังอิตาเลียน นายมาริโอ ดรากี ได้เป็นประธานธนาคารกลางยุโรปสมัยหน้า
ที่ผ่านมา สเตราส์-คาห์น ซึ่งได้บริหารไอเอ็มเอฟมาตั้งแต่ปี 2007 มีกำหนดจะเข้าร่วมในที่ประชุมรมว.คลัง 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน เพื่อร่วมหารือปัญหาวิกฤตหนี้ของกลุ่ม ซึ่งนับวันแต่จะทวีความสาหัส อย่างไรก็ตาม คาห์นเดินทางมาไม่ถึงกรุงบรัสเซลส์ เพราะถูกจับกุมกับนำตัวขึ้นดำเนินคดีที่ศาลแมนแฮตตัน โดยถูกบรรยายคำฟ้องว่าได้ทำการล่วงละเมิดทางเพศต่อหญิงพนักงานทำความสะอาดในโรงแรมย่านกลางเมืองแมนแฮตตัน มหานครนิวยอร์ก เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (14)
เนื่องจากคาห์นไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ที่ประชุมในกรุงบรัสเซลส์จึงพลอยเดือดร้อนไปด้วย เพราะต้องมีการพิจารณาแผนใหม่ให้แก่กรีซ ซึ่งตะเกียกตะกายอย่างหนักในอันที่จะลุ้นรับความช่วยเหลือในแพ็กเก็จอียู/ไอเอ็มเอฟมูลค่า 110,000 ล้านยูโร ซึ่งอนุมัติกันไปเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์มากมายเชื่อว่า กรีซจะเป็นชาติแรกในบรรดายุโรปตะวันตกที่ต้องลุกขึ้นมาขอปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศ ภายหลังที่เยอรมนีเคยทำเช่นนี้ในปี 1948 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายทางการกรีซยังคงปฏิเสธที่จะใช้วิธีขอลดมูลหนี้ หรือที่เรียกว่า “แฮร์คัต” จากเจ้าหนี้ภาคเอกชนที่จะมีกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรของกรีซกันในปี 2013
**ขอแค่ปรับเค้าโครง - Reprofiling**
ฌอง-คล็อด จุงก์เคอร์ แห่งลักเซมเบิร์ก ซึ่งนั่งเก้าอี้ประธานรมว.คลังแห่งยูโรโซน แถลงเปิดทางไว้ว่า ในกรณีหนี้ของกรีซนี้ อาจมีการขอให้นักลงทุนภาคเอกชนยอมยืดเวลาไถ่ถอนพันธบัตร ซึ่งถือเป็นวิธีปรับเค้าโครงภาระหนี้สินหรือ Reprofiling แทนที่จะดำเนินการเต็มรูปแบบของการปรับโครงสร้างภาระหนี้สินหรือ Restructuring
ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าทางการเอเธนส์จะกล่อมผู้คนด้วยวิธีใดเพื่อให้ภาคเอกชนยอมรับวิธีชะลอปัญหาแบบนี้ และมาตรว่าฝ่ายเอกชนผู้ถือพันธบัตรตกลงตามนั้น มันก็ยังคงเป็นเพียงการซื้อเวลา หาใช่การลดภาระหนี้องค์รวมของกรีซที่สูงถึง 330,000 ล้านยูโร
ในการนี้ จุงเคอร์ชี้ว่ายังพอมีหวังที่กรีซจะกุมสภาพปัญหาได้ หากรัฐบาลเอเธนส์ลุกขึ้นมาปฏิรูปอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการคลังปี 2011 พร้อมกับเร่งนำสินทรัพย์ของแผ่นดินออกขายเพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศ
ในเวลาเดียวกัน ทางด้านของการพิจารณามาตรช่วยเหลือโปรตุเกส ที่ประชุมให้การสนับสนุนแพ็กเก็จความช่วยเหลือมูลค่า 78,000 ล้านยูโรแก่โปรตุเกส แต่ย้ำว่าทางการลิสบอนจะต้องมีมาตรการต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ถือพันธบัตรในภาคเอกชนยอมถือตราสารหนี้นี้ไว้อย่างต่อเนื่อง