นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนมีโรคสำคัญ 4 โรคที่มักเกิดขึ้น ได้แก่ โรคลมแดด (Heat Stroke) โรคเพลียแดด (Heat Exhaustion) โรคตะคริวแดด (Heat Cramps) และผิวหนังไหม้แดด (Sunburn) ที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตคือโรคลมแดด โดยในปี 2551 ไทยพบผู้ป่วยโรคลมแดด 80 ราย เสียชีวิต 4 ราย ในปี 2552 มีรายงานประชาชนในสิทธิรักษาฟรี 48 ล้านคน ป่วยจากโรคนี้เข้ารักษาในโรงพยาบาล 32 ราย
ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคจากความร้อนทั้ง 4 โรค ได้แก่ เด็กทารก และเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป คนอ้วนมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ผู้ที่ออกกำลังกายหักโหมหรือใช้แรงอย่างหนัก และผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง จึงต้องระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ ควรจะดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือวันละ 2 ลิตร เนื่องจากคนที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับความร้อนได้ เพราะน้ำเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ที่สำคัญในการแต่งกาย ขอให้สวมเสื้อผ้าหลวมๆ เบาสบาย มีสีอ่อน หากออกนอกบ้านควรกางร่ม หรือสวมหมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด และทาครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไป ก่อนออกแดด 30 นาที และทาซ้ำตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคจากความร้อนทั้ง 4 โรค ได้แก่ เด็กทารก และเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป คนอ้วนมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ผู้ที่ออกกำลังกายหักโหมหรือใช้แรงอย่างหนัก และผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง จึงต้องระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษ ควรจะดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือวันละ 2 ลิตร เนื่องจากคนที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับความร้อนได้ เพราะน้ำเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ที่สำคัญในการแต่งกาย ขอให้สวมเสื้อผ้าหลวมๆ เบาสบาย มีสีอ่อน หากออกนอกบ้านควรกางร่ม หรือสวมหมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด และทาครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไป ก่อนออกแดด 30 นาที และทาซ้ำตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์