พ.อ.ประวิทย์ หูแก้ว โฆษกกองทัพภาค 2 เปิดเผยถึงสถานการณ์บริเวณริมชายแดนจังหวัดสุรินทร์ ว่า ยังคงมีการปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชา ซึ่งเมื่อช่วงเวลา 19.00 น.วานนี้ (30 เม.ย.) ได้มีกองกำลังสอดแนมฝ่ายทหารกัมพูชาเข้ามาในพื้นที่ใกล้ปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ และเปิดฉากยิงก่อน ทหารไทยจึงยิงตอบโต้ด้วยอาวุธปืนประจำกาย โดยใช้เวลาไม่นาน ก่อนหยุดการปะทะกันไป
ต่อมาเวลา 21.45 น. กองกำลังสอดแนมฝ่ายกัมพูชามีการหนุนกำลังเสริมเข้ามาเป็นจำนวนมาก และเริ่มปะทะกันอีกรอบ โดยเป็นเพียงการใช้อาวุธปืนกลเล็ก และระเบิดมือ ขณะที่การปะทะหยุดลงเมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. โดยฝ่ายไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
โฆษกกองทัพภาค 2 กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่ชาวบ้านอพยพมาพักพิงที่ศูนย์อพยพจากเหตุการณ์ปะทะกัน โดยบางส่วนเริ่มทยอยกันกลับบ้านของตนนั้น ทางกองทัพมีความเข้าใจว่า ชาวบ้านเป็นห่วงบ้านและทรัพย์สินของตน หลังจากที่ต้องมาพักพิงที่ศูนย์อพยพเป็นเวลา 9 วันแล้ว อีกทั้งชาวบ้านเข้าใจถึงสถานการณ์ว่า ขณะนี้บรรยากาศบริเวณริมชายแดนเริ่มดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทางกองทัพก็ได้จัดกำลังทหาร และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) คอยดูแลความปลอดภัยให้กับชาวบ้านในพื้นที่ริมชายแดนอยู่แล้ว แต่หากจะให้ชาวบ้านออกจากศูนย์อพยพได้ทั้งหมดเมื่อไรนั้น คงจะต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม โฆษกกองทัพภาค 2 ย้ำว่า ถึงแม้ว่าจะมีการปะทะกันอยู่ภายหลังที่การเจรจาหยุดยิงผ่านไปแล้ว 2 วัน แต่ก็เป็นการปะทะกันเพียงประปราย ซึ่งหลังจากนี้ทางกองทัพจะยังคงยึดหลักเจรจาทำความเข้าใจระหว่างสองฝ่าย ตามนโยบายของทางผู้บังคับบัญชาต่อไป
ต่อมาเวลา 21.45 น. กองกำลังสอดแนมฝ่ายกัมพูชามีการหนุนกำลังเสริมเข้ามาเป็นจำนวนมาก และเริ่มปะทะกันอีกรอบ โดยเป็นเพียงการใช้อาวุธปืนกลเล็ก และระเบิดมือ ขณะที่การปะทะหยุดลงเมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. โดยฝ่ายไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
โฆษกกองทัพภาค 2 กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่ชาวบ้านอพยพมาพักพิงที่ศูนย์อพยพจากเหตุการณ์ปะทะกัน โดยบางส่วนเริ่มทยอยกันกลับบ้านของตนนั้น ทางกองทัพมีความเข้าใจว่า ชาวบ้านเป็นห่วงบ้านและทรัพย์สินของตน หลังจากที่ต้องมาพักพิงที่ศูนย์อพยพเป็นเวลา 9 วันแล้ว อีกทั้งชาวบ้านเข้าใจถึงสถานการณ์ว่า ขณะนี้บรรยากาศบริเวณริมชายแดนเริ่มดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทางกองทัพก็ได้จัดกำลังทหาร และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) คอยดูแลความปลอดภัยให้กับชาวบ้านในพื้นที่ริมชายแดนอยู่แล้ว แต่หากจะให้ชาวบ้านออกจากศูนย์อพยพได้ทั้งหมดเมื่อไรนั้น คงจะต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม โฆษกกองทัพภาค 2 ย้ำว่า ถึงแม้ว่าจะมีการปะทะกันอยู่ภายหลังที่การเจรจาหยุดยิงผ่านไปแล้ว 2 วัน แต่ก็เป็นการปะทะกันเพียงประปราย ซึ่งหลังจากนี้ทางกองทัพจะยังคงยึดหลักเจรจาทำความเข้าใจระหว่างสองฝ่าย ตามนโยบายของทางผู้บังคับบัญชาต่อไป