เทศกาลสงกรานต์ แม้ว่าจะมีความพยายามในการรณรงค์เมาไม่ขับ และมีการเข้มงวดกวดขันโดยเฉพาะในหมู่เยาวชน แต่การข้อมูลการสำรวจล่าสุดพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี สามารถซื้อเหล้าเบียร์มาดื่มได้ด้วยตนเอง ในช่วงสงกรานต์สูงกว่าช่วงปกติ 7.6 เท่า ขณะเดียวกันผู้ที่ดื่มมีปริมาณแอลกอฮอล์ขณะเกิดเหตุนั้นสูงถึง 256.7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าระดับที่กฎหมายกำหนดถึง 5 เท่า
ภญ.ประพักตร์ เนรมิตรพิทักษ์กุล นักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา หรือ ศวส.เปิดเผยข้อมูลจากโครงการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับการบาดเจ็บรุนแรงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2553 โดยเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาล 5 แห่ง เปรียบเทียบช่วงสงกรานต์กับช่วงเวลาปกติพบว่า เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่บริโภคสูงสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รองลงมาคือ สุราขาวกว่าร้อยละ 90 ของผู้บาดเจ็บที่ดื่มก่อนเกิดเหตุจะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัม ซึ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้บาดเจ็บอายุเพียง 16 ปี ดื่มก่อนเกิดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์สูงกว่าช่วงปกติถึง 7.6 เท่า และร้อยละ 82 ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มได้ด้วยตนเอง ทั้งที่อายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้พบว่า ผู้ที่ดื่มมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดขณะเกิดเหตุนั้นสูงถึง 256.7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าระดับที่กฎหมายกำหนดถึง 5 เท่า และดื่มต่อเนื่องก่อนเกิดเหตุประมาณเกือบ 5 ชั่วโมง จึงเรียกร้องให้สถานประกอบการร้านค้ามีจรรยาบรรณ ไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และไม่ขายในเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเคร่งครัดการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด
นอกจากนี้ กรณีที่เด็กดื่มเหล้าและประสบอุบัติเหตุ ขอให้ตรวจสอบไปถึงสถานที่จำหน่าย เพื่อที่จะเอาผิดกรณีขายเหล้าให้กับเด็กตามมาตรา 29 ของกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภญ.ประพักตร์ เนรมิตรพิทักษ์กุล นักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา หรือ ศวส.เปิดเผยข้อมูลจากโครงการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับการบาดเจ็บรุนแรงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2553 โดยเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาล 5 แห่ง เปรียบเทียบช่วงสงกรานต์กับช่วงเวลาปกติพบว่า เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่บริโภคสูงสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ รองลงมาคือ สุราขาวกว่าร้อยละ 90 ของผู้บาดเจ็บที่ดื่มก่อนเกิดเหตุจะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัม ซึ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้บาดเจ็บอายุเพียง 16 ปี ดื่มก่อนเกิดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์สูงกว่าช่วงปกติถึง 7.6 เท่า และร้อยละ 82 ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มได้ด้วยตนเอง ทั้งที่อายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้พบว่า ผู้ที่ดื่มมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดขณะเกิดเหตุนั้นสูงถึง 256.7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าระดับที่กฎหมายกำหนดถึง 5 เท่า และดื่มต่อเนื่องก่อนเกิดเหตุประมาณเกือบ 5 ชั่วโมง จึงเรียกร้องให้สถานประกอบการร้านค้ามีจรรยาบรรณ ไม่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และไม่ขายในเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเคร่งครัดการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด
นอกจากนี้ กรณีที่เด็กดื่มเหล้าและประสบอุบัติเหตุ ขอให้ตรวจสอบไปถึงสถานที่จำหน่าย เพื่อที่จะเอาผิดกรณีขายเหล้าให้กับเด็กตามมาตรา 29 ของกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ