นายกฯญี่ปุ่นแถลงวันอังคาร(29) แดนอาทิตย์อุทัยกำลังใช้ “ความระมัดระวังเตรียมพร้อมระดับสูงสุด” ในความพยายามเพื่อเข้าควบคุมวิกฤตนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ อย่างไรก็ดี จากการค้นพบสารพลูโตเนียมในพื้นดิน 5 จุดที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ รวมทั้งยังคงมีน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีเข้มข้นไหลออกมาจากอาคารเตาปฏิกรณ์ ทำให้สถานการณ์น่าหวาดวิตกยิ่ง
นายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่นแถลงต่อรัฐสภาโดยยอมรับว่า สถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือราว 250 กิโลเมตร ยังคงอยู่ในสภาพ “ไม่สามารถที่จะทำนายได้” พร้อมกับให้สัญญาว่ารัฐบาลของเขาจะ “รับมือกับปัญหานี้โดยใช้ความระมัดระวังเตรียมพร้อมระดับสูงสุด”
ขณะที่สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านบางคน ได้อภิปรายตำหนิติเตียนคังอย่างรุนแรง ทั้งในเรื่องการรับมือกับภัยพิบัติคราวนี้อย่างเชื่องช้า และในเรื่องที่เขายังไม่ประกาศขยายเขตอพยพให้กว้างออกไปจากรอบรัศมี 20 กิโลเมตรห่างจากโรงไฟฟ้าที่ถูกภัยพิบัติเล่นงานจนกลายเป็นอัมพาต ถึงแม้ปัญหากัมมันตภาพรังสีรั่วไหลกำลังทำท่าร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของทางการและของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เคยตั้งความหวังไว้ว่า กำลังค่อยๆ สามารถกลับเข้าควบคุมโรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้มากขึ้นเป็นลำดับ แต่ความวาดหวังดังกล่าวก็ถูกกระหน่ำโจมตีอย่างหนักหน่วง เมื่อเท็ปโกแถลงวันอังคารว่า ตรวจพบสารพลูโตเนียมในระดับที่ยังมีอันตรายเพียงเล็กน้อย ในตัวอย่างดินที่นำมาจากจุดต่างๆ ของบริเวณโรงไฟฟ้ารวม 5 จุด
พลูโตเนียมเป็นสารพลอยได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ รวมทั้งยังมีการใช้สารนี้ในระเบิดนิวเคลียร์ด้วย พวกผู้เชี่ยวชาญระบุว่าพลุโตเนียมเป็นสารที่มีฤทธิ์สูงในการก่อมะเร็ง และถือเป็นสารที่อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งบนพื้นพิภพนี้
นายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่นแถลงต่อรัฐสภาโดยยอมรับว่า สถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางเหนือราว 250 กิโลเมตร ยังคงอยู่ในสภาพ “ไม่สามารถที่จะทำนายได้” พร้อมกับให้สัญญาว่ารัฐบาลของเขาจะ “รับมือกับปัญหานี้โดยใช้ความระมัดระวังเตรียมพร้อมระดับสูงสุด”
ขณะที่สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านบางคน ได้อภิปรายตำหนิติเตียนคังอย่างรุนแรง ทั้งในเรื่องการรับมือกับภัยพิบัติคราวนี้อย่างเชื่องช้า และในเรื่องที่เขายังไม่ประกาศขยายเขตอพยพให้กว้างออกไปจากรอบรัศมี 20 กิโลเมตรห่างจากโรงไฟฟ้าที่ถูกภัยพิบัติเล่นงานจนกลายเป็นอัมพาต ถึงแม้ปัญหากัมมันตภาพรังสีรั่วไหลกำลังทำท่าร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของทางการและของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เท็ปโก) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เคยตั้งความหวังไว้ว่า กำลังค่อยๆ สามารถกลับเข้าควบคุมโรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้มากขึ้นเป็นลำดับ แต่ความวาดหวังดังกล่าวก็ถูกกระหน่ำโจมตีอย่างหนักหน่วง เมื่อเท็ปโกแถลงวันอังคารว่า ตรวจพบสารพลูโตเนียมในระดับที่ยังมีอันตรายเพียงเล็กน้อย ในตัวอย่างดินที่นำมาจากจุดต่างๆ ของบริเวณโรงไฟฟ้ารวม 5 จุด
พลูโตเนียมเป็นสารพลอยได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ รวมทั้งยังมีการใช้สารนี้ในระเบิดนิวเคลียร์ด้วย พวกผู้เชี่ยวชาญระบุว่าพลุโตเนียมเป็นสารที่มีฤทธิ์สูงในการก่อมะเร็ง และถือเป็นสารที่อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งบนพื้นพิภพนี้