นายสรวิศ ธานีโต ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ เชื่อว่า ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มตก ทำให้ฟาร์มบางแห่งพยายามขึ้นราคาด้วยใช้สารแรคโตพามีนและคาร์บาดอกซ์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ เพื่อให้เนื้อมีสีแดงเข้มและแน่นขึ้น
นายสรวิศ ยังเป็นห่วงพื้นที่ที่เลี้ยงหมู และใช้สารชนิดนี้กันมากคือ จ.ราชบุรี นครปฐม ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ขณะเดียวกัน พบว่ามีฟาร์มบางแห่งใน จ.ราชบุรี ใช้สารนี้ถึง 3 ครั้ง ภายใน 1 ปี จึงเตรียมขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ดังกล่าว เสนอความเห็นไปยังอัยการให้ดำเนินคดี โดยโทษจำคุกไม่ต้องรอลงอาญา จากก่อนหน้านี้ ที่คดีลักษณะนี้ ศาลมักให้เสียเฉพาะค่าปรับ ส่วนโทษจำคุกจะให้รอลงอาญา
ขณะที่ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. กล่าวว่า สารเร่งเนื้อแดงไม่สามารถกำจัดได้ แม้เนื้อหมูจะผ่านการปรุงสุก เนื่องจากสารชนิดนี้แทรกอยู่ในกล้ามเนื้อหมู และหากสารตกค้างในร่างกายมนุษย์ อาจเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ คลื่นไส้ และอาเจียนได้
นายสรวิศ ยังเป็นห่วงพื้นที่ที่เลี้ยงหมู และใช้สารชนิดนี้กันมากคือ จ.ราชบุรี นครปฐม ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ขณะเดียวกัน พบว่ามีฟาร์มบางแห่งใน จ.ราชบุรี ใช้สารนี้ถึง 3 ครั้ง ภายใน 1 ปี จึงเตรียมขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ดังกล่าว เสนอความเห็นไปยังอัยการให้ดำเนินคดี โดยโทษจำคุกไม่ต้องรอลงอาญา จากก่อนหน้านี้ ที่คดีลักษณะนี้ ศาลมักให้เสียเฉพาะค่าปรับ ส่วนโทษจำคุกจะให้รอลงอาญา
ขณะที่ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. กล่าวว่า สารเร่งเนื้อแดงไม่สามารถกำจัดได้ แม้เนื้อหมูจะผ่านการปรุงสุก เนื่องจากสารชนิดนี้แทรกอยู่ในกล้ามเนื้อหมู และหากสารตกค้างในร่างกายมนุษย์ อาจเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ คลื่นไส้ และอาเจียนได้