นาปรังกว่า 1.6 แสนไร่ นอกเขตชลประทาน และอยู่ในเขตชลประทานที่ จ.สุรินทร์ กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เกษตรกรต้องเร่งสูบน้ำเข้านา แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอด แม่น้ำมูลในพื้นที่ อ.ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี ปริมาณน้ำลดลง บางพื้นที่แห้งขอดสันดอนทรายโผล่พ้นน้ำ เกษตรกรต้องหยุดเลี้ยงปลาชั่วคราว ขณะที่เกษตรต่างเร่งสูบน้ำเข้านา เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าว จึงทำให้แม่น้ำมูลแห้งขอดอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มว่า พื้นที่ภัยแล้งในพื้นที่ จ.สุรินทร์นั้น จะขยายพื้นที่กว้างขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรทำนาปรังนับแสนไร่
ส่วนที่ จ.สกลนคร น้ำในหนองหารลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบกับเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังกว่า 2 หมื่นไร่ ที่อาศัยน้ำจากหนองหาร เนื่องจากต้องสำรองน้ำในหนองหารไว้ใช้ในหน้าแล้ง ทั้งการบริโภคและการเกษตร ทั้งสภาพอากาศที่แห้งแล้งทำให้ต้นข้าวโตช้า เมล็ดข้าวลีบเล็ก เกษตรกรต้องซื้อน้ำจากโครงการสูบน้ำหนองหาร ไปเลี้ยงต้นข้าว ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่พื้นที่ของ อ.โพนนาแก้ว โคกศรีสุพรรณ ประสบภัยแล้งเช่นกัน
และในช่วงหน้าแล้งชาวบ้านที่ จ.กาฬสินธุ์ และ จ.มุกดาหาร ออกไปล่ากระปอม ตามต้นไม้ข้างทางมาทำเป็นอาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ซึ่งในช่วงนี้จะมีกระปอมเป็นจำนวนมาก โดยสามารถจับกระปอมได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 40-50 ตัว บางส่วนนำไปขายได้ตัวละ 5-10 บาท แล้วแต่ขนาดของตัวกระปอม
ส่วนที่ จ.สกลนคร น้ำในหนองหารลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบกับเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังกว่า 2 หมื่นไร่ ที่อาศัยน้ำจากหนองหาร เนื่องจากต้องสำรองน้ำในหนองหารไว้ใช้ในหน้าแล้ง ทั้งการบริโภคและการเกษตร ทั้งสภาพอากาศที่แห้งแล้งทำให้ต้นข้าวโตช้า เมล็ดข้าวลีบเล็ก เกษตรกรต้องซื้อน้ำจากโครงการสูบน้ำหนองหาร ไปเลี้ยงต้นข้าว ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่พื้นที่ของ อ.โพนนาแก้ว โคกศรีสุพรรณ ประสบภัยแล้งเช่นกัน
และในช่วงหน้าแล้งชาวบ้านที่ จ.กาฬสินธุ์ และ จ.มุกดาหาร ออกไปล่ากระปอม ตามต้นไม้ข้างทางมาทำเป็นอาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ซึ่งในช่วงนี้จะมีกระปอมเป็นจำนวนมาก โดยสามารถจับกระปอมได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 40-50 ตัว บางส่วนนำไปขายได้ตัวละ 5-10 บาท แล้วแต่ขนาดของตัวกระปอม