พรรคเพื่อไทยได้เข้ายื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ซึ่งเนื้อหาที่ฝ่ายค้านเตรียมอภิปราย รวม 3 ประเด็น ได้แก่ การสลายการชุมนุม การทุจริตคอร์รัปชั่น การบริหารราชการผิดพลาด บกพร่อง
โดยแบ่งเป็นรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ 6 คน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถูกอภิปรายในประเด็นสลายการชุมนุม และทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการกระทำความผิด โดยใช้อำนาจรัฐไม่ชอบ ล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเรื่องปากท้องประชาชน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ถูกอภิปรายในประเด็นสลายการชุมนุม การทุจริตการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกอภิปรายในประเด็นซื้อขายหลักทรัพย์ โดยใช้ข้อมูลภายใน และมีการปั่นหุ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง โดยเฉพาะการปล่อยข่าวซื้อหุ้นดาวเทียมไทยคม
ส่วนนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถูกอภิปรายประเด็นความล้มเหลวการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทำให้เกิดปัญหาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ขณะที่นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถูกอภิปรายประเด็นประมูลการสื่อสารในระบบ 3จี และการทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์ในระบบ 3จี ระหว่างบริษัท กสทฯ และบริษัท ทรูคอปอเรชั่น จำกัด นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะถูกอภิปรายกรณีปล่อยให้ใช้งบประมาณประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลอย่างไม่โปร่งใส
ขณะที่พรรคภูมิใจไทย จำนวน 4 คนที่ถูกอภิปราย คือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะถูกอภิปรายในประเด็นทุจริตสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ และทุจริตการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งข้าราชการฝ่ายปกครอง นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะถูกอภิปรายในกรณีดูแลโครงการระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน ส่วนนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถูกอภิปรายประเด็นทุจริตโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค รวมถึงโครงการประมูลซ่อมบำรุงทาง ของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท มูลค่านับหมื่นล้านบาท และนายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถูกอภิปรายประเด็นถือครองที่ดินโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ กว่า 700 ไร่ เพื่อนำไปปลูกยางพารา ใน จ.นครพนม
โดยแบ่งเป็นรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ 6 คน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถูกอภิปรายในประเด็นสลายการชุมนุม และทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ โดยมีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการกระทำความผิด โดยใช้อำนาจรัฐไม่ชอบ ล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเรื่องปากท้องประชาชน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ถูกอภิปรายในประเด็นสลายการชุมนุม การทุจริตการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์ม ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกอภิปรายในประเด็นซื้อขายหลักทรัพย์ โดยใช้ข้อมูลภายใน และมีการปั่นหุ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง โดยเฉพาะการปล่อยข่าวซื้อหุ้นดาวเทียมไทยคม
ส่วนนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถูกอภิปรายประเด็นความล้มเหลวการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทำให้เกิดปัญหาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ขณะที่นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถูกอภิปรายประเด็นประมูลการสื่อสารในระบบ 3จี และการทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์ในระบบ 3จี ระหว่างบริษัท กสทฯ และบริษัท ทรูคอปอเรชั่น จำกัด นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะถูกอภิปรายกรณีปล่อยให้ใช้งบประมาณประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลอย่างไม่โปร่งใส
ขณะที่พรรคภูมิใจไทย จำนวน 4 คนที่ถูกอภิปราย คือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะถูกอภิปรายในประเด็นทุจริตสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ และทุจริตการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งข้าราชการฝ่ายปกครอง นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะถูกอภิปรายในกรณีดูแลโครงการระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาล รวมทั้งการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน ส่วนนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถูกอภิปรายประเด็นทุจริตโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค รวมถึงโครงการประมูลซ่อมบำรุงทาง ของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท มูลค่านับหมื่นล้านบาท และนายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถูกอภิปรายประเด็นถือครองที่ดินโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ กว่า 700 ไร่ เพื่อนำไปปลูกยางพารา ใน จ.นครพนม