ภายหลัง UNSC ประสานเสียงให้ไทยกับกัมพูชากลับไปเจรจาทวิภาคี และเสนอให้ทำข้อตกลงหยุดหยิง เมื่อเวลา 06.30 น. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ NBT ถึงผลการร่วมประชุมกับคณะมนตรีความมั่นคง 15 ประเทศ หรือ UNSC ว่า สมาชิกทุกประเภทล้วนแสดงความเห็นอยากให้ไทยกับกัมพูชาเจรจาทวิภาคี โดยให้ประชาคมอาเซียนเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ที่จาการ์ต้า ก็จะพูดคุยกันว่าจะมีแนวทางอย่างไรต่อไป ทางไทยก็คงจะไปชี้แจงว่าขณะนี้มีกลไก และกรอบการเจรจาทวิภาคีทั้งเอ็มโอยู 2543 และ เจบีซี ให้สมาชิกอาเซียนได้เข้าใจ โดยไทยก็พร้อมจะประชุมเจบีซีกับทางกัมพูชาในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางกัมพูชาจะว่าอย่างไร
ส่วนเรื่องการทำข้อตกลงหยุดยิงถาวร ก็สามารถทำได้โดยให้รัฐมนตรีกลาโหมของทั้งไทยและกัมพูชามาเจรจากัน ซึ่งฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีชัดเจนว่าต้องการให้มีสันติภาพและความสงบสุข เราประกาศต่อประชาคมโลกแล้วว่าเราพร้อมเจรจาตลอดเวลา ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางกัมพูชาจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร
การที่กัมพูชา นำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แล้วที่ประชุมให้กลับไปเจรจากันเองสองฝ่าย ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางกัมพูชาที่มีพันธะต่อสหประชาชาติ ต่ออาเซียนในฐานะสมาชิก ว่าจะมีความจริงใจแค่ไหน ต้องขึ้นอยู่กับเจตนารมย์ของผู้นำทั้งสองประเทศที่จะต้องไปกำชับดูแลในส่วนของตนเองไม่ให้เกิดการปะทะกันขึ้นอีก นายกษิตกล่าวว่ากลไกการเจรจาทวิภาคีมีอยู่มากมาย ซึ่งต้องการความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย ควรจะมาช่วยกันทำแผนดูแลว่าจะรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนอย่างไร ซึ่งรวมถึงเรื่องของอาชญากรรมข้ามชาติ การตัดไม้ การค้าอาวุธ และยาเสพติด ซึ่งต้องร่วมมือกัน
นอกจากนี้ ไทยได้เสนอว่าเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารควรจะชะลอไว้ก่อน เพราะเป็นต้นเหตุแห่งการปะทะกัน ควรจะรอให้กลไกการเจรจาปักปันเขตแดนคืบหน้าจนแล้วเสร็จเสียก่อน คือต้องมีการทำภาพถ่ายทางอากาศ มีการสำรวจหลักเขตทั้งหมด ส่วนผู้ที่มาคัดค้านจะต้องเข้าใจประเด็นปัญหาว่าคัดค้านเรื่องอะไร ถ้าไม่มีเอ็มโอยูแล้วทางเลือกอื่นมีหรือไม่อย่างไร
ส่วนเรื่องการทำข้อตกลงหยุดยิงถาวร ก็สามารถทำได้โดยให้รัฐมนตรีกลาโหมของทั้งไทยและกัมพูชามาเจรจากัน ซึ่งฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีชัดเจนว่าต้องการให้มีสันติภาพและความสงบสุข เราประกาศต่อประชาคมโลกแล้วว่าเราพร้อมเจรจาตลอดเวลา ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางกัมพูชาจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร
การที่กัมพูชา นำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แล้วที่ประชุมให้กลับไปเจรจากันเองสองฝ่าย ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางกัมพูชาที่มีพันธะต่อสหประชาชาติ ต่ออาเซียนในฐานะสมาชิก ว่าจะมีความจริงใจแค่ไหน ต้องขึ้นอยู่กับเจตนารมย์ของผู้นำทั้งสองประเทศที่จะต้องไปกำชับดูแลในส่วนของตนเองไม่ให้เกิดการปะทะกันขึ้นอีก นายกษิตกล่าวว่ากลไกการเจรจาทวิภาคีมีอยู่มากมาย ซึ่งต้องการความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย ควรจะมาช่วยกันทำแผนดูแลว่าจะรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนอย่างไร ซึ่งรวมถึงเรื่องของอาชญากรรมข้ามชาติ การตัดไม้ การค้าอาวุธ และยาเสพติด ซึ่งต้องร่วมมือกัน
นอกจากนี้ ไทยได้เสนอว่าเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารควรจะชะลอไว้ก่อน เพราะเป็นต้นเหตุแห่งการปะทะกัน ควรจะรอให้กลไกการเจรจาปักปันเขตแดนคืบหน้าจนแล้วเสร็จเสียก่อน คือต้องมีการทำภาพถ่ายทางอากาศ มีการสำรวจหลักเขตทั้งหมด ส่วนผู้ที่มาคัดค้านจะต้องเข้าใจประเด็นปัญหาว่าคัดค้านเรื่องอะไร ถ้าไม่มีเอ็มโอยูแล้วทางเลือกอื่นมีหรือไม่อย่างไร