วันนี้ (11 ม.ค.) ผู้ค้าย่านราชประสงค์มาชุมนุมกันที่หน้าห้างเกสรพลาซ่า เพื่อเรียกร้องรัฐบาลเรื่องการบริหารจัดการการชุมนุมในที่สาธารณะ จากนั้นในเวลา 14.00 น. ตัวแทนผู้ค้าย่านราชประสงค์จะเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ หนังสือเปิดผนึกดังกล่าว ระบุว่า ช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา คนไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง และชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชาวราชประสงค์เข้าใจดีว่าการชุมนุมประท้วง และการเดินขบวนถือเป็นวิธีการแสดงความคิดเห็นของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลจึงไม่อาจจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมประท้วงตามสิทธิในรัฐธรรมนูญได้ แต่การชุมนุมไม่ควรละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของกันและกัน โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา เกิดความเสียหายจากการชุมนุมบนพื้นที่สาธารณะบริเวณย่านราชประสงค์แก่ผู้ประกอบการรายเล็ก และรายใหญ่ จำนวน 2,088 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 11,275 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่ออาชีพของพนักงานในธุรกิจดังกล่าวจำนวน 30,661 คน
นอกจากนี้ ยังเสนอวิธีการจัดการ โดยระยะสั้นคือ ให้รัฐบาลกำหนดและหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการชุมนุมประท้วงของประชาชน และให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการเร่งด่วนรวมกันทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายผู้ชุมนุม และฝ่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ส่วนมาตรการระยะยาวที่ต้องการเรียกร้องคือ ให้รัฐบาลเร่งรัดให้รัฐสภาออก พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะมาบังคับโดยเร็ว
ทั้งนี้ หนังสือเปิดผนึกดังกล่าว ระบุว่า ช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา คนไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง และชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชาวราชประสงค์เข้าใจดีว่าการชุมนุมประท้วง และการเดินขบวนถือเป็นวิธีการแสดงความคิดเห็นของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลจึงไม่อาจจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมประท้วงตามสิทธิในรัฐธรรมนูญได้ แต่การชุมนุมไม่ควรละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของกันและกัน โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา เกิดความเสียหายจากการชุมนุมบนพื้นที่สาธารณะบริเวณย่านราชประสงค์แก่ผู้ประกอบการรายเล็ก และรายใหญ่ จำนวน 2,088 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 11,275 ล้านบาท ส่งผลกระทบต่ออาชีพของพนักงานในธุรกิจดังกล่าวจำนวน 30,661 คน
นอกจากนี้ ยังเสนอวิธีการจัดการ โดยระยะสั้นคือ ให้รัฐบาลกำหนดและหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการชุมนุมประท้วงของประชาชน และให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการเร่งด่วนรวมกันทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายผู้ชุมนุม และฝ่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ส่วนมาตรการระยะยาวที่ต้องการเรียกร้องคือ ให้รัฐบาลเร่งรัดให้รัฐสภาออก พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะมาบังคับโดยเร็ว