นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์การวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ ภายในปี 2553 ว่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 3.5 โดยมีปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวทำให้การส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวได้ดีอีกครั้ง แต่ขณะเดียวกันการฝื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเป็นไปอย่างเปราะบางและมีความผันผวนอยู่ พร้อมทั้งต้องจับตาทิศทางของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงการแข่งขันทางเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
นายพิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดยังคงส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน และกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.2-0.5 แต่หากรัฐบาลสร้างความชัดเจนของกรอบหลักเกณฑ์ของการลงทุนกับสิ่งแวดล้อมได้เร็วจะสามารถบรรเทาปัญหานี้ลงได้ ขณะที่ปัญหาการเมืองไทยในประเทศในช่วงระยะ 2-3 ที่ผ่านมา เป็นอีกปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการไทยเข้มแข็งได้ร้อยละ 80 ของวงเงินงบประมาณ อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีจะขยายตัวตามศักยภาพได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะมีการปรับขึ้นร้อยละ 0.25-0.5 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นายพิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดยังคงส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน และกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.2-0.5 แต่หากรัฐบาลสร้างความชัดเจนของกรอบหลักเกณฑ์ของการลงทุนกับสิ่งแวดล้อมได้เร็วจะสามารถบรรเทาปัญหานี้ลงได้ ขณะที่ปัญหาการเมืองไทยในประเทศในช่วงระยะ 2-3 ที่ผ่านมา เป็นอีกปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการไทยเข้มแข็งได้ร้อยละ 80 ของวงเงินงบประมาณ อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีจะขยายตัวตามศักยภาพได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะมีการปรับขึ้นร้อยละ 0.25-0.5 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ