ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของประเทศไทย ในปี 2552 หดตัวประมาณ ร้อยละ 2.7 โดยช่วงครึ่งหลังของปี เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับ การดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่ผ่อนคลาย มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และสนับสนุนให้ความเชื่อมั่นของผู้ผลิต และผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยอุปสงค์ในประเทศที่หดตัวลงมากในช่วงแรกกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากรายได้เกษตร และรายรับจากการท่องเที่ยว ที่ปรับตัวดีขึ้น ตลอดจนการจ้างงานที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง นอกจากนี้ การส่งออกและการนำเข้าสินค้าปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี ในเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม แต่แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2552 อยู่ที่ 138.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด ทั้งปี 2552 เกินดุล 19,416 และ 20,291 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ทั้งปี 2552 หดตัวร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ ช่วงปลายปี 2552 เริ่มมีแรงกดดันด้านราคาเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น และสัญญาณการตึงตัวของตลาดแรงงานในบางอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2552 อยู่ที่ 138.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัด ทั้งปี 2552 เกินดุล 19,416 และ 20,291 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ทั้งปี 2552 หดตัวร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ ช่วงปลายปี 2552 เริ่มมีแรงกดดันด้านราคาเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น และสัญญาณการตึงตัวของตลาดแรงงานในบางอุตสาหกรรม