นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาโรงพยาบาลชายแดนประสบปัญหาหนี้สิน จากการขาดแคลนงบประมาณในการดูแลคนไทยไร้สถานะ ว่าได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันวิจัยสาธารณสุข (สวรส.) และกรมควบคุมโรค เร่งพิจารณาหาแนวทางให้การช่วยเหลือ ทั้งมาตรการ หรือการจัดตั้งเป็นกองทุนช่วยเหลือดูแลคนไทยไร้สถานะที่คาดว่ามีอยู่ประมาณ 570,000 คน โดยต้องไม่กระทบต่อการดูแลสุขภาพของคนไทยในพื้นที่ ให้เวลา 4 หน่วยงานร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาภายใน 2 สัปดาห์
สำหรับโรงพยาบาลห่างไกลและประสบปัญหาหนี้สิน คาดมีประมาณ 49 จังหวัด ทั้งที่ติดชายแดนไทย-พม่า ไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา และ ไทย-มาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นจะให้นำงบฉุกเฉินของกระทรวงฯ จำนวน 200 ล้านบาท มาช่วยเหลือก่อน
ด้าน น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คาดว่ามีโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาการขาดทุนติดหนี้ ประมาณ 40 แห่ง ซึ่งแนวทางการให้ความช่วยเหลือต่อไป อาจต้องมีคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยคำนวณงบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวใหม่ จากเดิมที่ได้รับตามปกติ แต่อาจเป็นในพื้นที่ห่างไกลมีจำนวนประชากรน้อย แต่มีคนไทยไร้สถานะจำนวนมากอาศัยอยู่ก็ได้รับงบประมาณมากขึ้นกว่าพื้นที่อื่น กล่าวคือ เดิมได้รับ 2,000 บาทต่อหัว เป็น 3,000 บาทต่อหัว เพื่อให้โรงพยาบาลมีสภาพคล่องในการดูแลผู้ป่วย
สำหรับโรงพยาบาลห่างไกลและประสบปัญหาหนี้สิน คาดมีประมาณ 49 จังหวัด ทั้งที่ติดชายแดนไทย-พม่า ไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา และ ไทย-มาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นจะให้นำงบฉุกเฉินของกระทรวงฯ จำนวน 200 ล้านบาท มาช่วยเหลือก่อน
ด้าน น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คาดว่ามีโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาการขาดทุนติดหนี้ ประมาณ 40 แห่ง ซึ่งแนวทางการให้ความช่วยเหลือต่อไป อาจต้องมีคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยคำนวณงบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวใหม่ จากเดิมที่ได้รับตามปกติ แต่อาจเป็นในพื้นที่ห่างไกลมีจำนวนประชากรน้อย แต่มีคนไทยไร้สถานะจำนวนมากอาศัยอยู่ก็ได้รับงบประมาณมากขึ้นกว่าพื้นที่อื่น กล่าวคือ เดิมได้รับ 2,000 บาทต่อหัว เป็น 3,000 บาทต่อหัว เพื่อให้โรงพยาบาลมีสภาพคล่องในการดูแลผู้ป่วย